วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ตกแต่งบ้านไฮเทค

บ้านไฮเทค บ้านอัจฉริยะ อัตโนมัติหรูหราสะดวกสบาย

+-+ การตกแต่งภายในที่ไฮเทค เติมเต็มไปด้วยความอัจฉริยะในความอัตโนมัติ ออกแบบโดยทีมงาน สถาปนิก Consexto โดยมีแรงบันดาลใจจาก บ้านที่แคบ เพียง 344 ตารางเมตรเท่านั้น เมื่อบ้านแคบก็ย่อมทำให้จัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ยากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกแบบมาพิเศษ โดยให้อุปกรณ์บางอย่าง ซ่อนเก็บได้
การออกแบบเน้นโทนสีสไตล์เรียบหรู โมเดิร์น เพื่อให้เข้ากับความเป็นอัจฉริยะที่ทันสมัย การประดับแสงสีภายในห้อง ทำให้ห้องดูอบอุ่น ทั้งนี้ ไม่เพียงแค่สวยหรูอย่างเดียว การออกแบบนี้ ยังได้รับรางวัลชนะเลิศ อาคารแห่งปี ในปี 2010 อีกด้วย อย่าลืมดูคลิปช่วงท้ายนะครับ คุณจะได้เห็นความเป็นอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์
ตกแต่งห้องดูทีวี ที่เรียบหรู คุณสามารถเรียกใช้ โต๊ะ เพื่อประยุกต์ในงานต่างๆ เมื่อไหร่ก็ได้ หากไม่ใช้เมื่อไหร่ ก็สามารถเก็บเข้าที่ ทำให้ห้องแคบๆ ก็ดูกว้างได้

คลิปรายละเอียด การตกแต่งภายใน ไฮเทค ห้ามพลาดชม


ในปี 2020 จะมีการหลอมรวมเทคโนโลยี (Technological Convergence) ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีการแพร่ภาพกระจายเสียง
** เป็นการใช้เทคโนโลยีกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) ร่วมกับแผ่นทัชสกรีน (Touch Screen) ผู้ใช้สามารถสั่งงานและเข้าถึงเทคโนโลยีได้จากทุกที่ทั่วโลก โดยการใช้งานเพียงแค่จ่ายค่าบริการเสมือนการใช้งานบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างไฟฟ้า ประปา น้ำมัน โทรศัพท์ ... :)

ล็อคประตูด้วยมือถือ


ล็อคประตูด้วยมือถือ

บริษัท Apigy ได้เริ่มเปิดให้สั่งจอง Lockitron อุปกรณ์สำหรับล็อคประตูโดยไม่ต้องใช้กุญแจ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนก็ปลดล็อคได้แล้ว
โปรเจค Lockitron เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนสามารถใช้ล็อคประตูแทนกุญแจได้อย่างสมบูรณ์ Lockitron รุ่นใหม่นี้มาพร้อมกับ Bluetooth 4.0, Wi-FI และ NFC มันใช้พลังงานจากกล่องแบตเตอรี่ที่ฝังไว้ตรงช่องไขกุญแจที่ประตู ผู้ใช้เพียงแค่นำมือถือรุ่นที่มี NFC  หรือ Bluetooth 4.0 มาแตะที่ Lockitron ก็เปิดประตูได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (มีทั้งบน Android และ iOS) นั่นทำให้คนที่ขี้ลืมหรือชอบนอยด์ว่าล็อคประตูรึยัง สามารถสั่งล็อคประตูได้จากทุกที่บนโลกที่มีอินเตอร์เน็ต
ตัวอุปกรณ์ยังมาพร้อมกับเซนเซอร์จับการเคาะซึ่งช่วยให้คุณรู้ว่ามีคนอยู่ที่หน้าประตู รวมถึงระบบแจ้งเตือนผ่าน SMS ทุกครั้งที่มีคนอื่นปลดล็อคประตู ไม่ว่าจะใช้กุญแจหรือ Lockitron ในกรณีที่คุณลืมหรือทำมือถือหาย คุณสามารถยกเลิกการสั่งงานระยะไกลได้ด้วยการเปลี่ยนรหัสผ่าน
ถ้าใครสนใจสนนราคาสั่งจองของ Lockitron อยู่ที่ 149$ หรือประมาณ 4,620 บาท โดยจะเริ่มส่งของได้ในเดือนมีนาคมปีหน้าค่ะ
**ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.projectorok.com

กระเป๋าเสื้อผ้า สั่งได้ !


กระเป๋าเสื้อผ้าที่เดินตามคุณ

ใครที่ชอบเดินทางแต่ขี้เกียจลากกระเป๋าไปโน่นไปนี้ งั้นลองเปลี่ยนมาใช้กระเป๋าแล้วที่เดินตามคุณแทนสิ
นี่คือกระเป๋าใส่เสื้อผ้าที่มีชื่อว่า The Hop กระเป๋าเสื้อผ้าแห่งอนาคต เพราะมันคือกระเป๋าหุ่นยนต์ที่ช่วยให้คุณไม่ต้องลากกระเป๋าให้เมื่อยมือ โดยมันจะเชื่อมต่อผ่านบลูทูธกับมือถือของคุณและจะคอยเดินตามเจ้าของได้แบบอัตโนมัติ
ตัวกระเป๋าจะประกอบไปด้วยเครื่องรับสัญญาณ 3 ตัว เพื่อใช้ในการรับสัญญาณ, ระบุสัญญาณและตรวจสอบสัญญาณต่างๆที่ส่งออกมาจากมือถือของผู้ใช้ โดยจะมี microcontroller คอยแปลสัญญาณเหล่านี้และคำนวณออกมาเป็นระยะห่างระหว่างกระเป๋าและมือถือ
เจ้า microcontroller ตัวเดียวกันนี้ยังทำหน้าที่ระบบล้อตีนตะขาบที่ขับเคลื่อนโดยใช้ระบบแรงกดอากาศเพื่อให้เดินตามผู้ใช้ในระยะห่างที่คงที่ ในกรณีที่สัญญาณขาดหายจนกระเป๋าหยุดเดิน มือถือก็จะเตือนผู้ใช้ด้วยการสั่นและกระเป่าจะล็อคตัวเองทันที
นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งโปรแกรมให้กระเป่าให้ตามคนที่ต้องการได้ หรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่สนามบินร่วมควบคุมเพื่อนำกระเป๋าไปโหลดได้


 **ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.projectorok.com

เม้าส์ตัวนี้ ใช้ยังไงก็ไม่เมื่อย

ใครที่ใช้เม้าส์ทำงานเป็นประจำแล้วเกิดอาการเมื่อยมือบ่อยๆ ลองเปลี่ยนมาใช้ตัวนี้ดูนะ
เม้าส์ตัวนี้มีชื่อว่า Massage Mouse ผลิตขึ้นโดยบริษัท Art Factory จากญี่ปุ่น คุณสมบัติของมันก็เหมือนกับชื่อ นั่นก็คือสามารถสั่นเพื่อใช้นวดมือหรือนวดร่างกายของคุณได้
มันเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย มาพร้อมกับแท่นชาร์จ USB ด้วยการออกแบบอย่างมีสไตล์ใช้งานง่ายได้ทั้งสองมือไม่ว่าจะถนัดซ้ายหรือขวา แถมยังพกพาสะดวก การควบคุมการทำงานจะใช้ระบบสัมผัสแบบเดียวกับ Magic mouse ของแอปเปิ้ลจึงไม่มีปุ่มกดมาให้กวนใจ นอกจากนี้ตรงฐานยังฝังหลอดไฟ LED ไว้เพื่อเพิ่มความสวยงามให้เรืองแสงเวลาใช้งาน
ในการใช้ฟังก์ชั่นนวดก็จะปุ่มด้านข้างให้เลือก 3 ปุ่ม คือ A, B, C ซึ่งสามารถปรับการสั่นได้ 10 ระดับ โดยใช้ปุ่ม A เป็นการเพิ่มระดับและปุ่ม C ลดระดับความแรง ส่วนปุ่ม B จะเป็นการเลือกให้นวดแบบต่อเนื่องยาวๆหรือนวดแล้วหยุดเป็นจังหวะ แต่ถ้าคุณตั้งค่าการนวดแล้วภายใน 30 วินาทีไม่มีการสัมผัสเม้าส์เพื่อใช้งานมันก็จะเปลี่ยนโหลดกลับเป็นเม้าส์ธรรมดาๆให้อัตโนมัติ ถ้าใครสนใจเม้าส์ตัวนี้ มันจะถูกนำไปจัดแสดงในงาน CES 2013 ต้นปีหน้า ส่วนราคาและวันวางจำหน่ายยังไม่มีการประกาศออกมาค่ะ
VIA Slashgear

สร้างไวท์บอร์ดมัลติทัชด้วย Wiimote

wii_whiteboard_41.jpg
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ทำให้ซีเห็นแล้วต้องทึ่งแต่เช้าเลยค่ะ ชื่อโปรเจกต์อาจจะยาวสักหน่อยนะคะ
“Low-Cost Multi-point Interactive Whiteboards Using the Wiimote” ซีเชื่อว่า
เพื่อนๆ เห็นแล้วต้องชื่นชอบผลงานสุดยอดไอเดียชิ้นนี้แน่ๆ
wii_whiteboard_11.jpg
ไอเดียของโปรเจกต์นี้ก็คือ การใช้คุณสมบัติการทำงานของ Wiimote ที่สามารถติดตามแสง
อินฟราเรดได้ ให้มันคอยติดตามตำแหน่งของหลอด LED อินฟราเรดที่ติดบนหัวปากกา เมื่อ
ใช้ปากกาดังกล่าวขีดเขียนลงบนกระดานที่ฉายภาพหน้าจอโน้ตบุ๊กจากโปรเจกเตอร์ ตำแหน่ง
ของการเคลื่อนที่ของปากกาที่ถูกติดตามโดย Wiimote จะถูกส่งเป็นข้อมูลให้กับโน้ตบุ๊ก เพื่อ
ประมวลผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบนหน้าจอนั่นเอง… และเนื่องจาก Wiimote จะสามารถติดตามแสง
อินฟราเรดได้ 4 จุดพร้อมกัน ดังนั้น มันจึงรองรับการทำงานร่วมกับปากกาได้มากกว่า 1 แท่ง
หรือจะเรียกว่า มันสนับสนุนการทำงานแบบมัลติทัชได้อีกด้วย อย่าเพิ่งงงนะคะ ;)
wii_whiteboard_2.jpg
wii_whiteboard_3.jpg
ในคลิปวิดีโอที่ซีนำมาฝากเพื่อนๆ Johny Choong Lee จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอนได้
อธิบายถึงโครงการของเขาอย่างละเอียด ตั้งแต่การใช้ปากกาธรรมดาถอดใส้ออกแล้วเปลี่ยน
หัวปากกาเป็นหลอด LED ที่ให้แสงอินฟราเรดพร้อมติดตั้งสวิทช์เปิดปิดไว้บนด้าม จากนั้นหัน
Wiimote ไปยังบริเวณที่ฉายภาพจากโปรเจกเตอร์ ซึ่งมีรัศมีครอบคลุม 45 องศา เมื่อติดตั้ง
ระบบพร้อมรันแอพลิเคชันที่เขาพัฒนาขึ้นมา สิ่งต่างๆ ที่เขาวาดบนภาพที่ฉายโดยโปรเจกเตอร์
ก็จะถูกติดตามโดย Wiimote ที่ต่อกับโน้ตบุ๊ก ซึ่งภาพ ตลอดจนการจรดปากกาลงบนส่วนต่างๆ
ของ Windows จะเกิดการโต้ตอบเหมือนกับว่ากำลังจิ้มอยู่บนหน้าจอแท็บเล็ตพีซีเลยค่ะ…
wii_whiteboard_5.jpg
เท่ห์จริงๆ เลย อยากให้เพื่อนๆ ดูคลิปจนจบนะคะ อธิบายเคลียร์มากๆ แถมตอนท้ายยังสาธิต
การทำงานแบบมัลติทัชให้ดูอีกด้วยค่ะ ที่สำคัญมันยังมีราคาถูกกว่าอินเตอร์แอคทีฟไวท์บอร์ด
ทั่วไปอีกด้วยนะคะ


เก้าอี้แสนรู้…วิ่งตามเจ้าของได้

 smart_chair_1.jpg
ตั้งชื่อเหมือนกับว่า เจ้าเก้าอี้ที่ซีกำลังพูดถึงเป็นเจ้าลูกหมา แต่พูดอีกก็ถูกอีกค่ะ เพราะ
มันแสนรู้เหมือนลูกสุนัขจริงๆ เป็นไอเดียสิ่งประดิษฐ์น่ารักๆ แต่ถ้ามันทำได้จริงก็น่าใช้
ดีเหมือนกันว่าแล้วไปทำความรู้จักกับไอเดีย Take-A-Seat กันเลยค่ะ
 smart_chair_3.jpg
Take-A-Seat เป็นไอเดียของ Eindhoven จากสถาบัน Jelte Van Geest ที่ต้องการ
เก้าอี้อัจฉริยะไว้ใช้ในห้องสมุด เพียงแค่นำบัตรสมาชิกห้องสมุดไปสแกนที่ด้านหน้า
ของเซ็นเซอร์เก้าอี้ เพียงแค่นี้ เก้าอี้ผู้ซื่อสัตย์ก็จะวิ่งตามคุณไปทุกที่ ดูไปก็ไม่ต่าง
จากสุนัขที่คอยติดตามเรายังไงยังงั้นเลยค่ะ พอคุณหยุดมันก็หยุดรอให้นั่งรีวิวหนัง
สือที่สนใจ เมื่อคุณได้เล่มที่ต้องการแล้ว มันก็จะตามไปที่ทางออก แต่จะไม่ตามคุณ
ออกไปนอกห้องสมุดนะคะ เพราะที่พื้นตรงทางออกจะมีสติ๊กเกอร์สีแดงที่เซ็นเซอร์ที่
ด้านล่างของเก้าอี้จะตรวจจับได้ว่า คุณออกไปแล้ว  และมันจะวิ่งกลับเข้าที่ที่จอดของ
มันด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นที่ชาร์จไฟด้วยในตัว
smart_chair_2.jpg
สำหรับพนักงานห้องสมุดจะมีบัตรของตัวเองไว้จัดการเก้าอี้เหล่านี้ เช่นกรณีที่จะใช้เก้า
อี้เป็นหมู่เหล่า พนักงานสามารถสแกนบัตรให้กับเก้าอี้ทุกตัววิ่งตามเขาไป และจัดเรียง
ตำแหน่งได้เองตามที่โปรแกรมไว้ ลองดูคลิปสาธิตการทำงานข้างล่างนี้ แล้วเพื่อนๆ จะ
ต้องชอบเหมือนซีแน่ๆ เลยล่ะ

เครื่องฉายวิดีโอลอยตัว 3 มิติ

**ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.projectorok.com

เครื่องฉายวิดีโอลอยตัว 3 มิติ

holographic_proj_1.jpg
นับวันเทคโนโลยี Hologram ที่ใช้ในการสร้างภาพ 3 มิติยิ่งทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกทึ่งมากขึ้นเรื่อยๆ
เรียกได้ว่า มันเหมือนในภาพยนต์เข้าไปทุกที ซึ่งจะว่าไปแล้ว การฉายภาพ 3 มิติด้วยวิธีนี้จะเรียก
ร้องความสนใจให้กับผู้พบเห็นได้มากกว่าวิธีอื่นๆ อีกด้วยค่ะ
 holographic_proj_2.jpg
 เครื่องฉายภาพโฮโลกราฟิกที่เห็นในรูปข้างบนนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในงานแถลงข่าวของ Windows
Vista ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตระบุว่า มันสามารถติดตั้งที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบนพื้น หรือบนเพดาน
โดยใช้วิดีโอของภาพที่หมุนโดยรอบ 360 องศา และสามารถฉายในที่ๆ มีแสงสว่างโดยรอบได้
อีกด้วย คลิปวิดีโองานแถลงข่าวและคลิปสาธิตการทำงานที่อยู่ข้างล่างนี้น่าจะเป็นตัวพิสูจน์ความ
สามารถในการทำงานของสื่อโฮโลแกรม 3 มิติที่ว่านี้ได้เป็นอย่างดีนะคะ 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปลั๊กสัญญาณภาพ

มีโสตทัศนูปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับผมอย่างมาก  ตรงที่มีช่องรับสัญญาณเพียบ  บางชนิดมีมากกว่า 1 ช่อง นั่นคือจอ TV  LCD และ PDP(Plasma Display Panel) เฉพาะช่องรับสัญญาณภาพมี
  • RF
  • Composit
  • S-Video
  • Component
  • RGBHV
  • VGA
  • DVI
  • HDMI
  • USB
1.  RF (ดูรูปที่1) สัญญาณที่ต่อเข้าช่อง RF นี้  มักมาจากเสาอากาศ ผมไม่แน่ใจ
ว่าชื่อ RF นี้ถูกต้องแค่ไหน  เพราะคำว่า RF ย่อมาจาก Radio Frequncy(คลื่นวิทยุ)
และคลื่น RF นี้เป็นพาหะนำสัญญาณภาพ Composit และเสียงมาด้วย  เช่นเดียวกับ
คลื่นไมค์ฯไร้สาย เผอินคนที่ผมชอบถามเกี่ยวกับอีเลคทรอนิกส์แล้วมักได้คำตอบที่ถูก
ต้องเกือบทั้งหมด  ได้ย้ายไปอยู่กับน้องสาวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว 


2. Composit (ดูรูปที่2) เป็นสัญญาณภาพวีดีโอแบบดั้งเดิม  ที่มีเฉพาะสัญญาณ
ภาพและยังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สัญญาณนี้ส่วนใหญ่มาจากกล้องถ่าย
วีดีโอและเครื่องเล่น/บันทึกภาพเป็น VCD  กับ DVD หรือ BlueRay
3. S-Video (ดูรูปที่3) เป็นสัญญาณที่ดีกว่า Composit พอสมควร  คนไทยไม่
นิยมใช้เพราะเกือบทั้งหมดไม่เข้าใจ  เมื่อไม่เข้าใจจึงต่อสายสัญญาณอย่างผิดวิธี  ภาพที่
ได้จึงไม่ดี  ช่างติดตั้งมักบอกลูกค้าว่าอย่าใช้ รวมทั้งมีสัญญาณภาพอย่างอื่นที่ดีกว่าให้ใช้
แทน  คนไทยเกือบทั้งหมดจึงไม่ใช้สัญญาณภาพชนิดนี้อีกแล้ว เว้นแต่มีลูกค้าของผม
รายหนึ่งที่ต้องการใช้ เพราะเขาต้องการต่อสัญญาณภาพจำนวนมากเข้าโปรเจคเตอร์
ดังนั้นการเพิ่มสัญญาณภาพ S-Video อีก 1 ช่องจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี

4. RGBHV(Red, Green, Blue, Horizontal Sync, Vertical Sync)
(ดูรูปที่4) เป็นสัญญาณที่ผมชอบใช้ เพราะสามารถใช้สายที่ใช้สื่อทองแดงที่มีขนาดใหญ่
ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการสูญเสียคุณภาพน้อย  ผมเคยใช้  RGBS
(Red Green Blue Sync) กับช่องนี้แล้วยังใช้ได้  และน่าจะใช้  R GS B (Red
Green Blue Sync on Green)  กับช่องนี้ได้  ถ้าในสเปคของเขาบอกว่าใช้ได้  คน
ไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมใช้สัญญาณ RGBHV เพราะรู้จักแต่ VGA แถมราคา
สาย RGBHV แพงกว่ามากและหาซื้อแทบไม่ได้  ต้องสั่งพิเศษ  รวมทั้งช่างติดตั้ง
เกือบทั้งหมดไม่มีความรู้ด้านน
ี้
5. Component  Video (ดูรูปที่2)ตามที่ผมเข้าใจ Component  ก็คือ RGB
แต่ระยะหลังคำว่าสัญญาณ Component  มักจะหมายถึงสัญญาณจากเครื่องเล่น DVD
ที่สัญญาณเป็น Y CbCr หรือไม่ก็ YPbPr  ซึ่งคล้าย ๆ กับสัญญาณ  Component
Digital  โปรดสังเกตว่า ไม่มีสัญญาณสีเขียว(Green) แต่แทนที่สัญญาณ Y
(luminance) แทน

6. VGA (Video Graphic Array) (ดูรูปที่ 5) เป็นสัญญาณอนาล็อด  ที่ไม่ว่า
สัญญาณนั้นจะเป็น VGA SVGA(Super Video Graphic Array)   XGA
(Extended Graphic Array) ฯลฯ  แต่ช่องรับสัญญาณส่วนใหญ่ยังใช้ปลั๊ก HD sub
15 ขาเข็ม  ดังนั้นช่องนี้จึงยังเรียกว่า ช่องรับสัญญาณภาพ VGA สำหรับทุกความ
ละเอียด ไม่มีการเรียกช่องรับสัญญาณภาพ SVGA หรือ XGA ฯลฯตามที่ผู้เชี่ยวชาญ
จาก ม.เกษตรฯ ยืนยันเยาะเย้ยกับผมเป็นลายลักษณ์อักษร

7. DVI (Digital Visual Interface)  เป็นสัญญาณดิจิตอล  ต่อมามีการดัดแปลงให้รับสัญญาณ VGA ได้  โดยเพิ่มช่องสัญญาณ
อนาล็อดอื่น ๆ  อีก 4 ช่องและแก้ไขเฟอร์มแวร์ให้รับสัญญาณ VGA ได้  ช่องรับสัญญาณ DVI ที่รับเฉพาะสัญญาณดิจิตอลนี้ปัจจุบันเรียกว่า
DVI-D (ดูรูปที่ 6A) และช่องที่รับได้ทั้ง ดิจิตอล และอนาล็อค VGA ที่ปัจจุบันเรียกว่า DVI-I (ดูรูปที่ 6B) แล้วยังมีแบ่งเป็น Single Link
และ Dual Link อีกด้วย
8. HDMI (ดูรูปที่7) (High Definition Multimedia Interface)  เป็นสัญญาณ
ภาพดิจิตอลแบบเดียวกับ DVI แต่เพิ่มสัญญาณเสียงดิจิตอลเข้าไปด้วย  ทำให้สะดวก
และติดตั้ง ได้เรียบร้อย ปัจจุบันช่องรับสัญญาณ HDMI ค่อย ๆ เบียดช่องสัญญาณ
DVI  และมีโอกาศแทนที่อย่างเด็ดขาด

9. USB (ดูรูปที่8) (Universal  Serial  Bus) จอ LCD/PDP รุ่นใหม่ ๆ และ
ขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อยขึ้นไป เริ่มมีช่องรับสัญญาณ USB เพื่อเล่นจากเครื่อง
เก็บข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์ หรือ แฮนดี้ไดร์ฟ(บางคนก็เรียกว่าทั้มไดร์ฟ ฯลฯ)
    ผมชอบใช้ช่องนี้เพื่อทำงานแทน Photo Frame หรือ Digita  Signage ที่ใช้
โดด ๆ ไม่มีการพ่วงต่อทางเครือข่าย(network) และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
บ่อย ๆ
หมายเหตุ  สัญญาณต่าง ๆ ที่ผมเขียนถึงนี้เป็นเพียงสังเขป  เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่เคย
ทราบพอที่จะแยกแยะได้  ผมไม่ลงไปถึงชนิดของสาย และ ปลั๊กตัวผู้  รวมทั้งเวอร์
ชั่นต่าง ๆของสัญญาณดิจิตอล เช่น DVI  HDMI  และ USB 
   ผมเชื่อว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบคอมโพสิทที่มีมานานมากแล้วจะยังคงมีอยู่ต่อไป
อย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลเพราะสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยและหลายแห่งทั่วโลกยัง
ใช้อยู่  แม้ผู้ซื้อโทรทัศน์ใหม่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทบทุกรายจะยืนยันว่าต้อง
ใช้กับสัญญาณ HD TV(High Definition  Television)  และ  DTV(Digital TV)
ได้  เพราะที่นั่นเขาส่งสัญญาณเหล่านี้กันเกือบทั่วแล้ว  แต่ผมเชื่อว่ายังมีการส่ง
สัญญาณ RF คอมโพสิทยังอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ดี

  ขอแทรกตรงนี้นิดนึง ผมขอยืนยันว่าไม่มีการถ่ายทอดสัญญาณออกอากาศด้วย
S-Video (แต่บรรณาธิการด้านภาพระดับไฮเอนด์ท่านหนึ่ง ได้พูดอย่างชัดเจนใน
การเสวนาที่โรงแรมแอมบาสเซอร์สุขุมวิท  เมื่อปลาย พ.ศ. 2550 ว่า สถานีโทรทัศน์
ส่งสัญญาณออกอากาศเป็น Y/C ท่านคงไม่รู้ว่า Y/C คือ ซูเปอร์วีดีโอ (S-Video)  นี่
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมเปิดบทความเรื่องความรู้ที่เว็บไซท์นี้
        สัญญาณคอมโพเน้นเริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้น  เมื่อครั้งระบบ DVD เริ่มเข้า
ตลาด แต่สัญญาณคอมโพเน้นของ DVD ไม่ใช่ RGB แบบดั้งเดิม  ใครทราบลอง
ตอบปัญหาที่โพสไว้ที่หน้าหลัก(Home Page) ของเว็บไซท์นี้  จะได้รางวัล
เล็ก ๆ น้อย ๆ(ขออภัย ตอนนี้คำถามที่ว่านั้นได้เปลี่ยนเป็น dB แล้ว)
     DVI และ HDMI ไม่ใช่มาตรฐานสัญญาณาภาพที่เป็นดิจิตอลตัวแรก  ก่อนหน้านั้นเคยมีสัญญาณ  EGA(Enhanced Graphic Array)
ที่เป็นสัญญาณดิจิตอล TTL(Transister to Trasister Logic) และการ์ดคอมพิวเตอร์ EGA ที่ทั่วโลกนิยมในสมัยนั้นคือ เฮอร์คิวลิส และ
น่าภาคภูมิใจอย่างมากที่การ์ดจอเฮอร์คิวลิสนั้นเป็นของคนไทยที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
     ผมชอบปลั๊ก DVI มากกว่าปลั๊ก HDMI ตรงที่ปลั๊ก DVI  สามารถจขันสกรูล็อคแบบเดียวกับปลั๊ก VGA ส่วนปลั๊ก HDMI ใช้เสียบเข้า
เฉย ๆ โดยไม่มีที่ล็อคแบบเดียวกับปลั๊ก USB
     อีกประการหนึ่งในการติดตั้งระบบภาพและเสียง  งานของผมส่วนใหญ่ต้องการแยกสัญญาณภาพไปที่โปรเจคเตอร์  ส่วนสัญญาณเสียง
จะแยกไปยังเครื่องผสมสัญญาณเสียง  แต่ก่อนเมื่อต้องใช้สาย HDMI ผมต้องหาซื้อเครื่องแยกสัญญาณภาพและเสียงของ HDMI ออกจาก
กัน ซึ่งหาซื้อได้ยาก แต่หลัง ๆ ผมใช้เครื่องแบ่งสัญญาณ HDMI แทนเพราะมีราคาพอ ๆ กันและหาซื้อได้ง่าย
     แม้ผมจะชอบสัญญาณ  DVI มากกว่า HDMI  ซึ่งแรกเริ่มนั้นได้ถูกพัฒนามาเพื่อใช้กับงานบันเทิงในบ้าน  แต่คงเป็นเพราะ  HDMI
รวมสัญญาณภาพและเสียงในเส้นเดียวกันทำให้การติดตั้ง  เดินสาย  สะดวกและเรียบร้อยกว่า  DVI  ทำให้  DVI  ค่อย ๆ หายไปจาก
ท้องตลาด  และคงสูญพันธุ์ไปเวลาไม่นาน
     VGA แม้จะถูกท้าทายจาก HDMI แต่คงใช้เวลาอีกค่อนข้างนานกว่าจะหายไปจากตลาด  เนื่องด้วยสัญญาณ VGA เป็นสัญญาณ
อนาล็อคที่สามารถส่งสัญญาณตามสายทองแดงได้ไกลกว่าสัญญาณดิจิตอล  เราสามารถแปลงสัญญาณ VGA เป็น RGBHV ได้ง่าย และยิ่ง
มีการใช้สายไฟเบอร์อ็อฟติกส์  ผมว่า RGBHV น่าจะต้านกระแสไปได้พอสมควร  ดูจากผู้ผลิตสวิช  RGBHV  ยังมีรุ่นใหม่ ๆ ออกขาย
     มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ HDMI เพิ่มเติมนิดหนึ่ง 2 เรื่อง เมื่อไม่กี่เดือนมานี้  Kramer ผู้ผลิตเครื่องบริหาร/จัดการสัญญาณชั้นนำของโลก
ได้มาจัดบรรยายและแนะนำสินค้าใหม่ที่กรุงเทพฯ ที่โรงแรมย่านถนนรัชดาภิเศก  เขาบอกว่ามีผู้ผลิตเครื่องมือที่ใช้สัญญาณ HDMI
เวอร์ชั่น 1.3 เพียง 2-3 รายเท่านั้น  ซึ่งรวมถึง Kramer ด้วย
     ผมแปลกใจมากเพราะผมเพิ่งได้รับข่าวสารจาก HDMI ว่าเขาเพิ่งออกเวอร์ชั่น 1.4 ที่มีสาระสำคัญอยู่ 2 อย่าง  คือ สัญญาณภาพและ
เสียงจะมีทั้งส่งและรับ  ถ้าเป็นภาพคงเหมาะกับจอแบบสัมผัส(Touch Screen) ซึ่งจะเหมาะกับ Windows 7  แต่ถ้าเป็นเสียง  ผมยังนึกถึง
ประโยชน์ไม่ออก
     อีกสาระหนึ่ง  คือ  HDMI จะทำหน้าที่เป็นสัญญาณเครือข่าย (network) ได้ด้วย  ซึ่งก็น่าจะดี  โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้จอภาพ  LCD TV
มีความละเอียดพอจะรับสัญญาณโปรเกรสซิฟสแกน (progressive scan ผมอาจเขียนถึงเรื่องนี้  เพราะยังมีหลายคนไม่เข้าใจ)  ที่เป็น
สัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์
     อีกเรื่องหนึ่งที่  Kramer  พูดถึง  HDMI กับเครื่องสวิชต์สัญญาณ   คือเขาได้แก้ปัญหาเรื่องเครื่องเล่น BlueRay ถูกปิดหรือภาพจาก
เครื่องคอมฯ  ถูกตัด(ผมเคยเจอปัญหานี้เมื่อต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสัญญาณภาพถูกปิด  เนื่องจากการ์ดจอของผมไม่มีคำสั่ง
เปิด/ปิด  ผมเลยต้องบูตเครื่องคอมฯ ขึ้นมาใหม่)
     เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ  ผมขออธิบายในด้านเทคนิคนิดหน่อย  คือ  เมื่อครั้งแรกที่มีการพัฒนา  HDMI  พวกเขาคำนึงถึงแค่แหล่งจ่าย
สัญญาณภาพและเสียง  จากแหล่งหนึ่งไปยังเครื่องรับอีกแหล่งหนึ่ง  แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในห้องประชุม  แล้วมีการใช้เครื่องสลับ/เลือก สัญญาณกับเครื่องปลายทาง  เช่น  โปรเจคเตอร์ หรือ จอมอนิเตอร์  จึงเกิดปัญหาการขาดการติดต่อระหว่าง เครื่องรับและเครื่องส่งชั่วขณะ
     ทั้งนี้เพราะในระบบ  HDMI  (เข้าใจว่า DVI ก็มีปัญหาด้วยเช่นกัน  แต่ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์)  มีมาตรฐาน EDID (Extended
Display Identification Data) เพื่อเช็คความละเอียดของโปรเจคเตอร์หรือมอนิเตอร์  หลังจากนั้น EDID จะไปสั่งให้ชุดจ่ายสัญญาณ
ภาพให้ส่งสัญญาณที่มีความลเอียดที่เหมาะสมที่สุด
     เมื่อสัญญา  EDID ถูกตัดขาด EDID จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องเล่น  BlueRay หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปิดสัญญาณนั้นทันที
     ตามความเข้าใจของผม  สัญญาณถูกส่งออกมาจากเครื่องแล้วไม่เจอเครื่องรับอาจขยายกำลังสัญญาณเพิ่มมากขึ้น  จนอาจไปรบกวน
ระบบอีเลคทรอนิกส์ของเครื่องมืออื่น ๆ  เขาจึงออกแบบมาให้ตัดสัญญาณนั้นทันที
     แต่เจ้าหน้าที่ของ  Kramer  ในประเทศไทยอธิบายว่า  EDID  จะไปเช็คมาตรฐาน  HDCP(High Definition Digital  Content
Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ Intel สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพและเสียง  เมื่อหา HDCP  จากโปรเจคเตอร์ไม่ได้  เครื่อง
จ่ายสัญญาณจะถูกปิด ซึ่งจริง ๆ แล้ว HDCP ไม่มีการตัดสัญญาณแต่จะไม่อนุญาติให้สัญญาณผ่านเท่านั้นเอง
     การสลับ/เลือก (Switch/Select) สัญญาณภาพนั้นจะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใจ  แต่จะใช้เวลาหลายวินาที  ซึ่ง EDID จะสั่งตัดสัญญาณ
หากไม่ได้รับสัญญาณตรงจากโปรเจคเตอร์หรือมอนิเตอร์เพียงแค่เสี้ยววินาทีเดียว
     Kramer  แก้ปัญหานี้ด้วยการโหลดสัญญาณข้อมูลจากโปรเจคเตอร์/มอนิเตอร์  มาเก็บไว้ในบัฟเฟอร์ขอเครื่องของ Kramer ทำให้
เครื่องของ Kramer ทำหน้าที่เสมือนโปรเจคเตอร์/มอนิเตอร์  และจะไม่มีการขาดการติดต่อกับ EDID
     ผมขอยืดเรื่องต่อจาก HDMI สักเล็กน้อย  ผมเคยพูดเสมอว่าไม่มีอะไรจีรัง  BlueRay เคยฟาดฟันกับ  HD  DVD  จนฝ่ายหลังพังพาบ
ตอนนี้ตัวเองก็คงต้องคอยวันตายจากมาตรฐานใหม่ ๆ ที่จะทยอยออกมาเรื่อยทุกขณะ(ตำแหน่ง สส. สว. หรือ รมต.  ก็ไม่จีรัง) 
 ป่านนี้  HDMI  คงต้องเตรียมปักหลักสู้กับ DisplayPort  ช่องรับภาพมาตรฐานใหม่
ที่  VESA ได้พัฒนาขึ้นมา (ดูรูปที่ 9)  เพราะอย่างน้อย  HDMI  เริ่มมีมาตรการที่จะ
ปรับขนาดปลั๊กของตนเองให้เล็กลง  เพื่อให้เหมาะในการนำมาใช้กับระบบ
มัลติมีเดียในรถยนต์(แต่ไม่เห็นมีการพูดถึงการล็อคปลั๊กที่ผมคาดหวัง)
     DisplayPort เป็นมาตรฐานจากอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมยังไม่เคยเห็นของจริง  ผมเคยถาม
ร้านค้าในพันธ์ทิพย์พลาซ่าหลายราย  แต่เจอเพียงคนเดียวที่บอกว่าเราทราบว่า  DELL
ใช้ปลั๊ก DisplayPort มีบางคนบอกผมว่าเครื่องคอมของ Apple ใช้ Mini DisplayPort
ซึ่งผมต้องเข้าไปดูในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
     DisplayPort  นี้จะต่อตรงจากการ์ดจอแสดงผลไปยังจอมอนิเตอร์ โดยไม่ต้องผ่าน
ชุดประมวลผลบางอย่างเช่น  DVI และ HDMI ซึ่งจะทำให้โปรเจคเตอร์และจอมอนิเตอร์
มีขนาดเล็กลง  ซึ่งหมายถึงน้ำหนักที่ลดลงและราคาถูกลงด้วย
   ได้ยินว่า DisplayPort  กำหนดให้นัญญาณของเขาสามารถใช้ร่วมกับ DVI และ
HDMI  ได้  ซึ่งในระดับผู้กำหนดมาตรฐานนั้นคงใช้เวลานานหน่อย แต่ในระดับช่าง
วิศวกรนั้นคงหาวิธีแก้ปัญหาได้เร็วกว่า
    ผมเชื่อว่า DisplayPort  สามารถซอนไซเข้ามาในระบบภาพอย่างช้า ๆ แต่ผมไม่
กล้าฟันธงว่าจะเป็นผู้พิชิตได้หรือไม่ แต่ที่น่าจะเป็นไปได้มากคือ HDMI น่าจะยังยึด
ตลาดโฮมเธียเตอร์ไว้ได้อยู่  ส่วน DisplayPort  น่าจะแทรกเข้าภายใน 4-5 ปี  เพื่อ
ยึดตลาดคอมพิวเตอร์ได้

ตำแหน่งการวางโปรเจคเตอร์


 โปรเจคเตอร์แต่ละประเภทจะสามารถทำงานได้ดี หรือเหมาะสมมากน้อยเพียงใด บางครั้งขึ้นอยู่กับตำแหน่งการวางเครื่องโปรเจคเตอร์ด้วย ซึ่งตำแหน่งการวางเครื่องโปรเจคเตอร์นั้นก็มีหลายลักษณะ ได้แก่

วางไว้หน้าห้อง ในการพิจารณาเครื่องโปรเจคเตอร์สำหรับไว้หน้าห้อง ใกล้ๆ กับฉากรับภาพนั้น คุณสมบัติแรกที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ สามารถวางโปรเจคเตอร์ไว้ใกล้ที่สุดที่ระยะเท่าใด และภาพที่ได้จะมีขนาดใหญ่เพียงใด เนื่องจากเมื่อเราวางโปรเจคเตอร์ไว้ใกล้ฉาก ภาพที่ปรากฏจะมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปเมื่อเราวางโปรเจคเตอร์ห่างจากฉากประมาณ 5 ฟุต ภาพที่ปรากฏจะมีขนาดประมาณ 6 ฟุต ดังนั้นแรกทีเดียว คุณควรพิจารณาสเปกก่อนว่า ระยะ Projection ที่ใกล้ที่สุดนั้นตรงตามความต้องการหรือยัง จากนั้นจึงดูว่าขนาดของภาพที่ระยะนั้น ใหญ่พอหรือไม่ หากยังไม่พอ ก็อาจพิจารณาโปรเจคเตอร์รุ่นที่สามารถซูมได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นได้อีก นอกจากนี้หากคุณวางเครื่องโปรเจคเตอร์เงยหน้าขึ้น ในระยะใกล้เช่นนี้จะเกิดปรากฏการณ์ Key Stone อย่างเห็นได้ชัด จึงควรเลือกโปรเจคเตอร์ที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วย

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายๆ คนมองข้ามก็คือในเรื่องของรีโมตคอนโทรล โดยหากคุณจำเป็นต้องใช้รีโมตคอนโทรล แต่ต้องบรรยายอยู่หลังเครื่องโปรเจคเตอร์ การควบคุมด้วยรีโมตคอนโทรล ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อินฟาเรด จะไม่ได้ผล เพราะเซนเซอร์มักจะติดตั้งที่ด้านหน้าของโปรเจคเตอร์ ทางแก้ง่ายๆ ก็คือ การใช้กระจกเงาเพื่อสะท้อนแสงอินฟาเรดจากรีโมตคอนโทรลเข้าสู่เซนเซอร์ที่อยู่ด้านหน้า

วางไว้กลางห้อง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่นิยมกัน เนื่องจากสามารถตั้งไว้ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถควบคุมได้ง่าย โปรเจคเตอร์ที่มีความเหมาะกับการติดตั้งไว้กลางห้องนั้น โดยทั่วไป จะให้ภาพที่มีขนาด 6 ฟุต ที่ระยะ Projection ประมาณ 8-15 ฟุต และเพื่อความคล่องตัวในการนำไปใช้ในห้องขนาดต่างๆ ได้ ก็ควรพิจารณาโปรเจคเตอร์ที่สามารถซูมด้วยจะเป็นการดีอย่างมาก
วางไว้หลังห้อง การโปรเจคเตอร์ไว้หลังห้องนั้น มักจะเป็นการติดตั้งตายตัวมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องขนาดใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องมีการเดินสายไฟ สายสัญญาณ และอาจต้องใช้ตัวขยายสัญญาณเพิ่มเติม เนื่องจากสัญญาณบางส่วนได้ถูกลดทอนไปตามระยะทางและหากคุณจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปใช้ในห้องที่มีขนาดแตกต่างกันบ้าง คุณก็สามารถหาซื้อเลนส์ที่เป็นออปชั่น เพื่อให้สามารถได้ระยะ Projection ที่ไกลขึ้นได้ นอกจากนี้ในการติดตั้งไว้ไกลๆ รีโมตคอนโทรลแบบไร้สายอาจมีปัญหา ไม่สามารถส่งสัญญาณไปควบคุมได้ คุณอาจพิจารณาโปรเจคเตอร์ที่มีรีโมตคอนโทรลแบบใช้สายควบคู่มาด้วย
วางไว้หลังฉาก ในการวางโปรเจคเตอร์หลายๆ แบบที่กล่าวมานั้น ทั้งโปรเจคเตอร์แบบที่ผู้บรรยาย และผู้ฟังจะอยู่ฝั่งเดียวกันหมด แต่ในลักษณะนี้โปรเจคเตอร์จะอยู่ข้างหลังฉาก แล้วฉายภาพออกมาให้เห็น โปรเจคเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานนี้ อาจต้องมีระยะ Projection สั้นกว่าแบบว่างไว้หน้าห้อง ทั้งนี้เนื่องจากมีพื้นที่บริเวณฉากหลังจำกัด และอาจต้องใช้เลนส์ซูมพิเศษเพื่อลดระยะ Projection ลงอีก นอกจากนี้โปรเจคเตอร์ยังต้องมีความสามารถในการกลับภาพซ้าย-ขวาให้ถูกต้องด้วย
ติดตั้งบนเพดาน คุณสมบัติของโปรเจคเตอร์สำหรับงานนี้คือ โปรเจคเตอร์สำหรับติดตั้งไว้กลางห้อง และจะต้องมีออปชั่นสำหรับการติดตั้งบนเพดานด้วย ซึ่งมักจะเป็นอุปกรณ์เสริมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ทำให้สามารถติดตั้งได้อย่างมั่นคง สามารถรับน้ำหนักของโปรเจคเตอร์ได้ ทั้งนี้เพราะโปรเจคเตอร์ประเภทนี้มักมีน้ำหนักมาก อีกคุณสมบัติที่ต้องมีเช่นกันคือ สามารถกลับภาพจากบนลงล่าง ล่างขึ้นบนได้
เรื่องของ Key Stone ก็เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากการติดตั้งไว้บนเพดานนั้น จะทำให้แนวของโปรเจคเตอร์ไม่ตั้งฉากรับภาพมากขึ้น จึงอาจเกิด Key Stone มากกว่าการวางโปรเจคเตอร์ที่สามารถปรับ Key Stone ได้
และเมื่อคุณติดตั้งโปรเจคเตอร์ไปบนเพดาน อย่าลืมว่ารีโมตคอนโทรลจะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการปรับการทำงานของโปรเจ๊กเตอร์ นั่นคือควรมีความสามารถในการควบคุมอะไรที่ต้องใช้บ่อยๆ อย่างครบถ้วน และอย่าลืมเรื่องการเดินสายสัญญาณต่างๆ และไฟเลี้ยงให้พร้อมด้วย

Keystone Correction


การปรับรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเป็นฟีเจอร์ที่ใช้ปรับอัตราส่วนของภาพให้เหมาะสมในการแสดงผล ซึ่งจะสามารถปรับได้ 4 ทิศทาง โปรเจคเตอร์ที่มีคุณภาพสูงหรือได้มาตรฐาน ซึ่งควรมีระบบปรับภาพสี่เหลี่ยมคางหมูที่ว่านี้ที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ทุกครั้งที่ใช้งานด้วย
หลอดภาพ
เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของโปรเจคเตอร์ เนื่องจากจะเป็นส่วนที่ฉายภาพออกไป และตัวหลอดก็จะมีอายุการใช้งานของมันอยู่โดยมีหน่วยเป็น ชั่วโมง โดยเราสามารถดูได้จากคู่มือของตัวเครื่องว่าสามารถใช้งานได้นานเท่าไร เวลาจะเลือกซื้อโปรเจคเตอร์มาใช้งาน แนะนำให้ดูจำนวนชั่วโมงของหลอดภาพนั้นเยอะๆ เข้าไว้จะได้ไม่ต้องเสียค่าเปลี่ยนอุปกรณ์และค่าบำรุงรักษามาก พร้อมกันนี้ให้สอบถามราคาหลอดจากผู้ขายด้วยว่าราคาเท่าไร ซึ่งให้คิดจากการใช้งานและจำนวนชั่วโมงแล้วก็ว่าเหมาะสมที่จะใช้งานหรือไม่และหลอดภาพรุ่นนั้นๆ มีจำหน่ายมากน้อยเพียงใด
น้ำหนักน้ำหนักของเครื่องจะมีผลอย่างมากหากคุณต้องใช้งานโปรเจคเตอร์แบบพกพา หรือหิ้วไปไหนมาไหนบ่อยๆ เพื่อที่จะนำเสนอผลงาน และจะมีผลมากขึ้นไปอีกสำหรับโปรเจคเตอร์แบบที่แขวนเพดาน เนื่องจากต้องคำนวณน้ำหนักและการรองรับของเพดานให้ดี มิฉะนั้นอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องและบุคคลอื่นได้
นอกจากนี้แล้วโปรเจคเตอร์ยังสามารถแยกการใช้งานตามลักษณะของการใช้งานได้ด้วยโดยแบ่งเป็น
Portable
เป็นโปรเจคเตอร์แบบพกพาซึ่งถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปไหนมาไหนบ่อยๆ และมีที่ในการจัดเก็บไม่มากนักก็ควรจะหาโปรเจคเตอร์แบบนี้มาใช้งาน ซึ่งโปรเจคเตอร์แบบนี้น้ำหนักไม่ควรเกิน 1.9 กิโลกรัมและมีขนาดที่เล็กพอที่จะใส่กระเป๋าไปได้ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีขนาดที่เล็กลงก็จะทำให้ฟีเจอร์ใช้งานต่างๆ ลดลงไปด้วย ถ้าต้องการใช้งานให้ทดสอบเครื่องที่ร้านก่อนว่าในรุ่นนั้นๆ มีฟีเจอร์ที่ต้องการใช้งานอยู่หรือไม่
Office สำหรับโปรเจคเตอร์ที่ใช้งานในออฟฟิศก็มีให้เลือกใช้งานอยู่หลายแบบทั้งขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่และยังรวมไปถึงอุปกรณ์จำนวน Electronics Board ด้วย ซึ่งสามารถเลือกได้ตามขนาดของห้องที่ต้องการใช้งาน โดยควรมีค่าความสว่างในการใช้งานยู่ที่ 2000 ANSI lumens ขึ้นไป และมีความละเอียดในระดับ 1024 x 768 พิกเซล หรือ ‘XGA’ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 800 x 600 พิกเซล หรือ ‘SVGA’ พร้อมกันนี้โปรเจคเตอร์ที่ใช้งานในออฟฟิศให้ดูเรื่องของตัวติดเพดานด้วยว่าสามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เสริมการทำงานของเครื่องได้และไม่เกะกะในการนำเสนอผลงาน
Education
สำหรับงานด้านการเรียนการสอนจะมีการใช้งานที่แตกต่างจากธุรกิจและควรเป็นเครื่องที่มีฟีเจอร์ในการใช้งานง่ายๆ และควรมีระยะในการถ่ายภาพที่ไม่ไกลมากนัก เนื่องจากตัวเครื่องจะต้องวางไว้ที่หน้าชั้นเรียน ซึ่งถ้าระยะการทำงานไกลก็ต้องเสียพื้นที่ในการวางไว้ไกลขึ้น และในขณะเดียวกันน่าจะมีการใช้งานร่วมกับ Visualizer เพื่อให้สามารถนำอุปกรณ์ที่เป็นสื่อการสอนวางลงแล้วฉายภาพออกไปได้ด้วย
Conference Room
ถือว่าเป็นโปรเจคเตอร์สุดยอดที่สุด เนื่องจากสามารถใช้ในการประชุมสัมมนาหรือห้องเสนอผลงานใหญ่ๆ ได้ ซึ่งจะต้องเป็นโปรเจคเตอร์ที่ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย ตัวเครื่องต้องออกแบบให้ดูดีสักหน่อยเพราะต้องมาโชว์ต่อหน้าสารณชนเป็นจำนวนมาก ส่วนในเรื่องของความสว่างก็ไม่ควรต่ำกว่า 3500 ANSI lumens และความละเอียดในระดับ WXGA พร้อมกันนี้อาจจะดูในเรื่องของการติดตั้งกับเพดานได้ด้วยถ้าห้องนั้นๆ เป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรมแบบถาวรประจำๆ ให้ติดตั้งไว้เป็นการถาวรได้เลยจะดีกว่า
Wireless Projectorระบบไร้สายเป็นเทคโนโลยีใหม่ของเครื่องโปรเจคเตอร์เพื่อทำให้การนำเสนอมีความรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังติดตั้งได้ง่าย แต่โปรเจคเตอร์แบบนี้ไม่เหมาะสำหรับที่จะใช้ในการชมภาพยนตร์เนื่องจากถ้ามีการใช้งานสัญญาณเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดความหน่วงและภาพยนตร์จะกระตุกได้ โดยถ้าต้องการใช้งานให้สามารถดูว่าสามารถต่ออุปกรณ์ไร้สายเพิ่มได้หรือไม่