วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความแตกต่าง DLP และ LCD

เทคโนโลยีที่แตกต่าง

        LCD (Liquid Crystal Display) โปรเจคเตอร์ระบบนี้ถูกบรรจุด้วยแผ่นกระจก LCD สามแผ่นซึ่งแต่ละแผ่นจะมีสี แดง  เขียว  น้ำเงิน  ในขณะที่แสงผ่านแผ่น LCD แต่ละ Pixel ของแผ่น LCD จะทำหน้าที่ในการอนุญาตให้แสงผ่านหรือปิดกั้นไม่ให้แสงผ่าน  Pixel เล็กๆเหล่านี้ก็เป็นเหมือนมู่ลี่นั่นเอง  การทำงานลักษณะนี้ทำให้เกิดเป็นภาพขึ้นมา

        DLP (Digital Light Processing) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Texas Instruments  ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างไปจาก LCD  แทนที่จะใช้แผ่นกระจก LCD  ระบบ DLP ใช้ chip ที่ทำจากกระจกเล็กๆจำนวนมากในการสะท้อนแสง  กระจกแต่ละแผ่นเปรียบเสมือน Pixel หนึ่ง Pixel  แสงจากหลอดภาพของโปรเจคเตอร์จะถูกส่งไปที่ผิวหน้าของ chip DLP กระจกเล็กๆจะเปลี่ยนทิศทางไปมาเพื่อส่องแสงไปที่เลนส์และส่งแสงที่ไม่ต้อง การไปที่ตัวดูดซับแสง     ใน DLP โปรเจคเตอร์ระดับสูงได้มีการใช้ chip DLP ถึงสาม chip สำหรับสี  แดง  เขียว  น้ำเงิน  อย่างไรก็ดีโปรเจคเตอร์ที่มีราคาไม่สูงส่วนใหญ่มีเพียง chip เดียว  ในการกำหนดสีจะใช้วงล้อที่ประกอบขึ้นจากสี  แดง  เขียว  น้ำเงิน  และบางทีอาจใช้สีขาว  สีเขียวแก่และสีเหลืองด้วย  วงล้อสีนี้จะหมุนอยู่ระหว่างหลอดภาพกับ DLP chip เพื่อสร้างเป็นสีต่างๆส่งไปที่ chip กระจกเล็กๆบน chip จะคอยสะท้อนแสงสีต่างไปที่เลนส์ทำไห้เกิดเป็นภาพขึ้นมา 
เปรียบเทียบการทำงาน
        ทั้งสองเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา  ความแตกต่างของระบบทั้งสองลดน้อยลงมาก  แต่สิ่งที่ยังพูดถึงกันบ่อยๆก็คือ

        ข้อแรก LCD นั้นให้ภาพที่สวยงามมีสีสันที่เป็นธรรมชาติมากกว่า DLP ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก  DLP chip เดียวถูกสร้างมาสำหรับตลาด Presentation สีขาวถูกเพิ่มเข้าไปในวงล้อสีทำให้ภาพสว่างขึ้นก็จริงแต่ก็ทำให้สีผิดเพี้ยน ไปด้วย  ภาพที่ได้จาก DLP จึงไม่ค่อยอิ่มและสั่นซึ่งจะไม่ค่อยมีผลในการแสดงข้อมูลแต่เป็นสิ่งที่ต้อง คำนึงถึงเป็นพิเศษถ้าจะใช้โปรเจคเตอร์สำหรับสัญญาณภาพที่มีลายละเอียดมาก   และเพื่อชดเชยข้อบกพร่องในเรื่องสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและเพื่อปรับปรุงการ แสดงสีให้ถูกต้องโปรเจคเตอร์ที่ถูกผลิตมาสำหรับ Home Theater และระบบวีดีโอคุณภาพสูงจะใช้วงล้อสีที่มีหกสี (Six-Segment) ซึ่งประกอบด้วยสี  แดง  เขียว  น้ำเงิน  สองชุดโดยได้ตัดสีขาวออกไป  บางวงล้ออาจมีถึงเจ็ดหรือแปดสี  ด้วยวงล้อสีนี้ช่วยเพิ่มความถูกต้องให้กับการแสดงสี 

        ข้อสองความแตกต่างอีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือความคมชัดในการแสดง ข้อมูล  LCD สามารถให้ภาพได้คมชัดกว่า DLP ในทุกๆ Resolution สังเกตได้จากการฉายภาพที่มีลายละเอียดของข้อมูลที่เป็นลายเส้น  อย่างไรก็ดีไม่มีความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดในการแสดงภาพวีดีโอ  ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า DLP จะแสดงภาพที่เป็นข้อมูลและลายเส้นไม่ได้เรื่อง DLP สามารถแสดงผลออกมาได้ชัดดีทีเดียวเพียงแต่เมื่อนำ DLP และ LCD ที่มี Resolution เท่ากันมาวางฉายคู่กัน  จากการเปรียบเทียบแล้วดูเหมือนว่า LCD จะให้ความคมชัดมากกว่า

        ข้อสาม LCD นั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างที่ดี  LCD สามารถผลิตแสงที่มีค่า ANSI Lumens ได้มากกว่า DLP ด้วยหลอดภาพที่กำลังไฟฟ้า (Watt lamp) เท่าๆกัน  มีโปรเจคเตอร์จำนวนมากที่ถูกผลิตออกมาด้วยค่า  3000 – 6000 Lumens ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรเจคเตอร์ในระบบ LCD  LCD จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อต้องการความสว่างมากๆ
LCD โปรเจคเตอร์มีข้อด้อยอยู่สามข้อซึ่งจะเกี่ยวกับการแสดงภาพมากกว่าในเรื่องการแสดงข้อมูล 
ข้อแรกก็คือสามารถมองเห็นความไม่ ต่อเนื่องของ Pixel ได้ง่ายบนจอภาพ  ข้อสองภาพที่ปรากฏบนจอภาพจะมีลักษณะเป็นตารางซึ่งเป็นผลมาจากมีช่องว่าง ระหว่าง Pixel มาก  ข้อที่สามมีค่า Contrast ต่ำ  ที่ผ่านมา  LCD โปรเจคเตอร์ไม่เป็นที่พอใจนักในหมู่ผู้ที่ชอบชมภาพยนตร์เนื่องมาจากเหตุผล เหล่านี้  อย่างไรก็ตามใน LCD โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆจะพบว่าปัญหาเหล่านี้ได้ถูกลดน้อยลง  ช่องว่างระหว่าง Pixel ถูกทำให้ลดลงและเพิ่มจำนวน Pixel ให้มากขึ้น  เมื่อฉายภาพด้วยระยะที่เหมาะสมข้อเสียต่างๆเหล่านี้จะไม่ปรากฏให้เห็นเลย

        DLP เทคโนโลยีนั้นสร้าง Pixel ด้วยกระจกเงาเล็กๆจึงให้ภาพที่นุ่มนวลและมี Pixel ที่ชิดกันมากกว่า LCD ดังนั้นไม่ว่าจะด้วย Resolution ใด  DLP จะเหนือกว่า LCD ในเรื่องการแสดง Pixel

        ว่าด้วยเรื่อง Contrast ระบบ LCD นั้นยังล้าหลังและเป็นรอง DLP ในเรื่องนี้แต่ทั้งสองเทคโนโลยีก็ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องเมื่อก่อน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีค่า Contrast ที่ 400:1 ซึ่งต่ำกว่า DLP อยู่เกือบเท่าตัว  ปัจจุบันนี้ทั้งสองเทคโนโลยีได้เพิ่มค่า Contrast จนสูงขึ้นมาก  DLP โปรเจคเตอร์ส่วนมากมีค่า Contrast อย่างต่ำอยู่ที่  2000 :1 และสำหรับรุ่นพิเศษสำหรับ Home  Theater มีค่า Contrast ถึง 5000:1  ส่วนทาง LCD ก็ได้เพิ่มค่า Contrast ให้มากขึ้นเช่นเดียวกัน  LCD โปรเจคเตอร์มีค่า Contrast ที่ 1000:1 ขึ้นไปบางรุ่นมีค่า Contrast สูงถึง 6000:1ทีเดียว

        เรื่องของน้ำหนัก  ซึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนั่นเอง  เนื่องจาก DLP ใช้ระบบการทำงานด้วย chip ที่มีขนาดเล็กไม่เหมือนกับ LCD ที่ต้องใช้แผ่นกระจก LCD ถึงสามแผ่น  DLP โปรเจคเตอร์จึงมีน้ำหนักที่เบากว่า  แต่ก็ไม่แน่เสมอไปทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการผลิตของแต่ละผู้ ผลิตโปรเจคเตอร์ด้วยเช่นกัน
DLP กับปัญหา Rainbow  Effect
        เมื่อมีการพูดถึงข้อด้อยของ DLP ที่เกิดมาจากการใช้วงล้อสีในการสร้างภาพเป็นไปได้ว่าการทำงานลักษณะนี้ทำให้ เกิด “ Rainbow Effect ” เนื่องจากขณะที่วงล้อสีถูกทำให้หมุนเพื่อทำให้เกิดภาพอย่างต่อเนื่องอย่าง รวดเร็วนั้น  ตาของเรามีความไวพอที่จะจับความเปลี่ยนแปลงได้ทัน  ทำให้เราเห็นแสงลักษณะเหมือนสีรุ้งสะท้อนออกมาจากภาพ  แต่ก็มีบางคนเท่านั้นที่จะเห็นความผิดปรกตินี้ได้   ส่วน LCD โปรเจคเตอร์นั้นมีวิธีการสร้างภาพด้วยสีที่แน่นอนโดยการสร้างสีจากสี  แดง  เขียว  น้ำเงิน  ไปออกเป็นภาพในช่วงเวลาเดียวกับ  ผู้ที่ชมภาพจาก LCD โปรเจคเตอร์จึงไม่เห็นความผิดปรกตินี้เลย

        Texas Instruments ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า  แต่เดิมในยุคแรกของการผลิตนั้น DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีการใช้วงล้อสีซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 60 รอบต่อวินาที (60 Hz) ซึ่งจะเท่ากับ 3600 รอบต่อนาทีโดยเรียกว่า 1x  ในระหว่างได้มีการออกวางจำหน่าย DLP โปรเจคเตอร์ในช่วงแรกนี้ก็ได้มีผู้พบเห็นความผิดปรกตินี้บ้างแล้ว  ต่อมาในยุคที่สองวงล้อสีได้ถูกพัฒนาความเร็วขึ้นเป็น 2x ซึ่งจะเท่ากับ 120 Hz คือวงล้อสีจะหมุน 7200 รอบต่อนาที  การเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นสองเท่านี้ทำให้คนส่วนใหญ่เห็นความผิดปรกติของภาพ น้อยลง
ปัจจุบันนี้ Home  Theater DLP โปรเจคเตอร์ถูกผลิตขึ้นโดยมีวงล้อสีที่มีถึงหกสี (Six-Segment) ซึ่งมีสี  แดง  เขียว  น้ำเงิน  สองชุด  วงล้อสีนี้หมุน  120 Hz ซึ่งเท่ากับ 7200 รอบต่อนาที  และเนื่องจากสีที่เพิ่มเป็นสองชุดในหนึ่งรอบนี้เองจึงถูกเรียกว่ามีความเร็ว เท่ากับ  4x ทั้งๆที่ความเร็วรอบยังเท่าเดิม  เหตุผลใหญ่ที่ต้องใช้วงล้อที่มีหกสีและความเร็วรอบที่ 4x ก็เพื่อแก้ปัญหา “ Rainbow  Effect ” นั่นเอง

        LCD โปรเจคเตอร์แสดงภาพที่ซีดและจางลงเรื่อยๆเมื่อใช้งานไปสักระยะเวลาหนึ่งโดย เฉพาะกับแผ่น LCD สีน้ำเงิน  ซึ่งก็มีผลในการจัด Balance ของสีทำให้ภาพมีสีผิดเพี้ยนไปและค่า Contrast ก็ตกลงด้วย  แต่ก็ไม่ต้องตกใจกลัวจนไม่กล้าใช้ LCD  เนื่องจากการจะเกิดกรณีเช่นนี้ได้คงต้องใช้เวลานานพอสมควรซึ่งอาจจะต้องใช้ เวลาเป็นปีๆทีเดียว

        ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อความพึง พอใจของผู้บริโภค  ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ต่างก็ได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองให้ดีขึ้นและปรับ สิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก  อย่างไรก็ดีสำหรับสถานที่ที่ใหญ่มากต้องการโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างมาก  LCD โปรเจคเตอร์ยังเป็นผู้นำในด้านนี้อยู่  ในการใช้งานกับ Home  Theater   DLP โปรเจคเตอร์ยังนำหน้าอยู่เสมอในเรื่อง สี  Contrast และคุณภาพของภาพซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้ระบบ Home Theater ชื่นชอบอยู่เสมอ  แต่ทุกวันนี้ช่องว่างระหว่างการเป็นผู้นำและผู้ตามของทั้งสองเทคโนโลยีนั้น ลดน้อยลงทุกที  ทั้ง DLP และ LCD ต่างก็มีความสามารถให้ภาพที่มีคุณภาพระดับสูงสำหรับ Home  Theater ได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว       
        DLP หรือ LCD เทคโนโลยีแบบใดจะดีกว่ากันนั้นคงจะต้องขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนซึ่งจะเป็น ผู้เลือกว่าเทคโนโลยีแบบใดจะดีที่สุดสำหรับบุคคลนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น