วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

DLP 3D Ready Projector


DLP 3D Ready Projector คือโปรเจคเตอร์ที่มีความสามารถในการฉายภาพสามมิติโดยใช้เทคโนโลยี 3D DLP ของบริษัท Texas Instrument โปรเจคเตอร์ที่มีความสามารถในการฉายภาพสามมิติจะมีตราสัญญาลักษณ์ (DLP 3D Ready) ซึ่งบอกว่าโปรเจคเตอร์มีคุณสมบัติ DLP 3D การฉายภาพด้วยระบบ สามมิติสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นใน การฉายภาพยนตร์ การนำเสนอสื่อมัติมีเดียหรือการเรียนการสอนในห้องเรียน เนื่องจากภาพที่ได้จากการฉายภาพด้วยระบบ สามมิติจะมีมิติที่แสดงถึงความลึกของภาพออกมาด้วยซึ่งแตกต่างจากระบบภาพ 2มิติ (2D) ที่ให้ภาพในลักษณะกว้างและยาวโดยปราศจากความลึก DLP 3D Ready Projector สามารถปรับใช้งานได้ทั้งการฉายภาพแบบปรกติ (2D) และเมื่อต้องการฉายภาพในระบบสามมิติก็ปรับการใช้งานเข้าสู่ระบบสามมิติ (3D) ได้โดยง่าย
โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ใช้เทคโนโลยี DLP ในการแสดงภาพ เทคโนโลยี DLP มีการทำงานโดยใช้ชิพซึ่งมีกระจกเงาขนาดเล็กเป็นจำนวนมากในการสะท้อนสงเพื่อ สร้างเป็นภาพออกมา กระบวนการในการสร้างภาพนี้เกิดขึ้นรวดเร็วมากจนสามารถสร้างภาพขึ้นมาสองภาพ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ภาพที่ได้สองภาพนี้ภาพหนึ่งจะใช้สำหรับตาข้างซ้ายและอีกภาพหนึ่งจะใช้สำหรับ ตาข้างขวา โดยที่แว่นตาสามมิติจะทำการรวมภาพทั้งสองภาพเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพสาม มิติซึ่งมีมิติแสดงถึงของความลึกและความนูนของช่วยภาพสร้างความประทับใจให้ กับผู้ชม
3D Transmission Format
ปัจจุบันมีโปรเจคเตอร์วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มากมายแต่สิ่งที่ทำให้โปรเจคเตอร์ซึ่งมีความสามารถในการฉายภาพสามมิติแตก ต่างจากโปรเจคเตอร์ธรรมดาคือจะมีตราสัญญาณลักษณ์ (3D DLP Ready) ซึ่งบ่งบอกถึงคุณสมบัติในการฉายภาพสามมิติติดไว้ที่ตัวเครื่องโปรเจคเตอร์ ด้วย โปรเจคเตอร์ที่มีตราสัญลักษ์ 3D DLP Ready แสดงว่าโปรเจคเตอร์รุ่นนั้นๆสามารถรับสัญญาณภาพในรูปแบบสามมิติจากอุปกรณ์ ส่งสัญญาณ (เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมส์หรือเครื่องเล่นดีวีดี) และส่งสัญญาณการฉายภาพสามมิติไปยังจอรับภาพ โดยรูปแบบของสัญญาณภาพสามมิติที่ส่งมาจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณ (เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกมส์หรือเครื่องเล่นดีวีดี) จะเรียกว่า 3D Transmission Format สัญญาณ 3D Transmission Formats มีอยู่หลายชนิดอธิเช่น Frame Sequential , Frame Packing และ Side-By-Side เป็นต้น ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ยังสามารถรับส่งสัญญาณในรูปแบบ Frame Sequentil เท่านั้น
Frame Sequential

Frame Sequential คือรูปแบบการส่งสัญญาณภาพสามมิติ (3D) ซึ่งมีการส่งสัญญาณภาพเรียงติดต่อกันที่อัตรา 120 เฟรมต่อวินาทีในการฉายภาพ โดยที่จะมีการแบ่งเฟรมภาพออกเป็นเฟรมภาพสำหรับตาข้างซ้ายและเฟรมภาพสำหรับตา ข้างขวา ซึ่งในกรณีนี้เครื่องโปรเจคเตอร์เพียงแต่รับสัญญาณภาพมาและก็ฉายภาพออกไปโดย ไม่ต้องทำการถอดรหัสสัญญาณภาพแต่อย่างใด เพียงแต่โปรเจคเตอร์จะต้องมีความสามารถในการฉายภาพที่ 120 Hz เพื่อฉายภาพสำหรับตาแต่ละข้างที่ 60 เฟรมภาพต่อวินาที จะเห็นได้ว่าการรับส่งสัญญาณภาพสามมิติ (3D) ชนิดนี้ต้องการช่วงความถี่ (Bandwidth) ของสัญญาณที่ค่อนข้องสูง ซึ่งโดยปรกติการฉายภาพสองมิติ (2D) ทั่วๆไปจะใช้ช่วงความถี่ของสัญญาณประมาณ 60 – 80 Hz แต่สำหรับการรับส่งสัญญาณภาพสามมิติรูปแบบนี้ต้องใช้ช่วงความถี่ (Bandwidth) ของสัญญาณมากขึ้นเป็นสองเท่าทีเดียวเมื่อเทียบกับสัญญาณภาพ 2D ปรกติ
สำหรับโปรเจคเตอร์แล้วระบบ Frame Sequential นับว่ามีความสำคัญมากทีเดียว เนื่องจากปัจจุบันโปรเจคเตอร์ DLP ราคาไม่แพงซึ่งมีคุณสมบัติ 3D Ready นั้นรองรับการฉายภาพกับระบบ Frame Sequential 3D เท่านั้น ซึ่งในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ระบบสามมิตินี้ยังมีข้อจำกัดอยู่แค่ความ ละเอียด 1280 x 720 เท่านั้น และในการที่จะส่งสัญญาณภาพสามมิติด้วยสัญญาณนี้ก็จะต้องใช้การส่งสัญญาณจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย (Nvidia 3D Vision System) มีอุปกรณ์ Blu-Ray 3D Player บางรุ่นใหม่ๆซึ่งอาจสามารถส่งสัญญาณ Frame Sequential 3D ได้โดยใช้พอร์ท HDMI 1.4 แต่เนื่องด้วยโปรเจคเตอร์ 3D Ready ในปัจจุบันยังเป็นพอร์ท HDMI 1.3 เท่านั้น สรุบก็คือโปรเจคเตอร์ DLP 3D Ready ยังไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่อง Blu-Ray 3D Player ได้โดยตรง (ยกเว้นกรณีที่ใช้ร่วมกับ 3D Projector Adaptor เช่น Optoma 3D-XL)
Side-by-Side


Side-by-Side เป็นรูปแบบสัญญาณภาพวีดีโอสามมิติซึ่งทำการบีบสัญญาณภาพตามแนวนอน (Horizontal Resolution) ปรกติลงมาเหลือครึ่งหนึ่ง ในการถ่ายภาพยนตร์สามมิติจะใช้กล้องสองตัวซึ่งก็จะได้เฟรมภาพออกมา 2 เฟรมโดยแต่ละเฟรมภาพก็จะถูกบีบขนาดลดลงครึ่งหนึ่ง เช่นสัญญาณภาพความละเอียดที่ 1080p ซึ่งมีความละเอียดเป็น 1920 x 1080 พิกเซลต่อเฟรมภาพ ก็จะถูกบีบความละเอียดลงมาเหลือครึ่งหนึ่งคือ 960 x 1080 พิกเซล และเมื่อนำเฟรมภาพที่ถ่ายทำจากกล้องสองตัวมารวมกันตามแนวนอนก็จะได้เป็นภาพ ด้านซ้านและภาพด้านขวาซึ่งเรียกว่า Side-by-Side นั่นเอง
ระบบสัญญาณภาพสามมิติรูปแบบนี้จะมีการสูญเสีญ สัญญาณระหว่างการบีบอัดและการขยายสัญญาณกลับไปสู่รูปแบบปรกติ สัญญาณ 3D Side-by-Side สามารถใช้กับระบบโทรทัศน์สามมิติเช่น Direct HD Box และ Sky 3D ซึ่งแพ่ภาพเป็นระบบสามมิติในยุโรปก็ใช้สัญญาณภาพสามมิตินี้เช่นกัน ส่วนโปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ที่มีวางจำหน่ายในขณะนี้ก็ยังไม่สามารถรองรับสัญญาณนี้ได้
Frame Packing

Frame Packing จะมีลักษณะสัญญาณภาพสามมิติใกล้เคียงกับแบบ Frame Sequential แต่จะส่งสัญญาณภาพไปพร้อมๆกันโดยวางภาพภาพหนึ่งอาไว้ที่ด้านบนและอีกภาพ หนึ่งที่ด้านล่าง โดยจะมีช่องว่างระหว่างภาพทั้งสองด้วย ซึ่งการส่งสัญญาณภาพสามมิตินี้จะส่งสัญญาณภาพความละเอียดเป็น 2 เท่าของความละเอียดภาพปรกติเช่นภาพที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซลก็จะถูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตามแนวตั่ง (Vertical) คือเป็น 1080 + 1080 + (ช่องว่างระหว่างภาพ 45 พิกเซล) = 2205 พิกเซล จะเห็นได้ว่าสัญญาณรูปแบบนี้ถูกส่งออกมาด้วยความละเอียดที่เพิ่มมากขึ้นเป็น สองเท่า
รูปแบบสัญญาณสามมิติ Frame Packing ได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตราฐานสำหรับอุปกรณ์ 3D HDMI 1.4 และอุปกรณ์ 3D ซึ่งติดป้าย HDMI 1.4 ต้องสามารถรองรับรูปแบบสัญญาณชนิดนี้ได้ด้วย หนึ่งในอุปกรณ์นั้นคือ 3D Blu-Ray Player ในขณะที่ HDMI 1.4 มีความสามารถในการส่งสัญญาณภาพสามมิติ 3D ในรูปแบบ 1080p ได้ สำหรับ HDMI 1.3 ซึ่งไม่รองรับสัญญาณสามมิตินี้จะมีปัญหาในการส่งสัญญาณภาพโดยอาจจะให้ภาพสาม มิติออกมาด้วยความละเอียดที่ต่ำกว่าปรกติหรืออาจจะไม่สามารถฉายภาพออกมาได้ เลย
แว่นตาสามมิติ (3D Glasses)

ในการฉายภาพระบบสามมิติจะใช้โปรเจคเตอร์ 3D DLP ทำงานร่วมกับแว่นตาสามมิติ (LCD Shutter Glasses) ตัวแว่นตาถูกออกแบบมาให้สามารถรับสัญญาณ DLP Link ซึ่งส่งมาจาก 3D DLP Ready Prjector เลนส์ของแว่นตาจะกระพริบอยู่ตลอดเวลาโดยจะกระพริบสลับกับเช่นถ้าเลนส์ด้าน ซ้ายเปิดเลนส์ด้านขวาก็จะปิด เมื่อโปรเจคเตอร์ฉายภาพสำหรับเลนส์ด้านซ้ายไปที่จอรับภาพเลนส์ด้านซ้ายก็จะ เปิดส่วนเลนส์ด้านขวาจะปิดและเมื่อโปรเจคเตอร์ฉายภาพด้านขวาไปที่จอรับภาพ เลนส์ด้านขวาก็จะเปิดและเลนส์ด้านซ้ายก็จะปิด กระบวนการนี้เกิดขึ้นรวดเร็วมากโดยเลนส์แต่ละข้างจะกระพริบเปิดและปิดเป็น จำนวน 60 ครั้งต่อวินาที โดยรวมการกระพริบเปิดและปิดของเลนส์ทั้งสองข้างก็จะเป็นการกระพริบที่ 120 ครั้งต่อวินาที
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดีและ 3D Blu-Ray Player สำหรับระบบภาพสามมิติ
โปรเจคเตอร์ซึ่งมีเทคโนโลยี 3D DLP Ready สามารถฉายภาพสามมิติได้โดยการสร้างภาพที่อัตรา Refresh Rate ที่ 120Hz ซึ่งก็จะสัมพันกับการกระพริบของแว่นตาสามมิติ LCD ในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งสัญญาณภาพไปยังโปรเจคเตอร์ก็จะต้องสร้าง สัญญาณภาพได้ที่ 120 Hz เช่นกันจึงจะทำให้ระบบสามมิติทำงานสัมพันธ์กันทั้งระบบและให้ภาพสามมิติที่ สมบูรณ์แบบ ถ้าพิจารณาถึงระบบสามมิติที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับส่ง สัญญาณภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะมีกราฟฟิกการ์ด (Graphic Card) ที่สามารถสร้างสัญญาณภาพที่อัตรา 120Hz (refresh rate) หรืออย่างต่ำ 100 Hz ขึ้นไป อุปกรณ์ที่สามารถสร้างสัญญาณภาพได้ไม่ถึงอัตรา 120 Hz ก็อาจสามารถใช้ในระบบสามมิติได้เช่นกันแต่ก็จะทำให้ได้ภาพสามมิติที่ไม่ สมบูรณ์แบบเท่าที่ควรเช่นให้ภาพสามมิติที่สะดุดไม่ต่อเนื่องและไม่ชัดเจน ในส่วนของเครื่องเล่นดีวีดีที่จะนำมาใช้เล่นภาพยนตร์สามมิติเมื่อปรับให้ เป็น 60Hz-NTSC ก็จะสามารถใช้เล่นภาพยนตร์สามมิติได้
ในขณะนี้ 3D ready Projector ยังมีข้อจำกัดในการรองรับภาพสามมิติได้ที่ 720p เท่านั้น และก็จะต้องเป็นการส่งสัญญาณภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทาง Analog VGA หรือ DVI ด้วย อุปกรณ์ 3D Projector Adaptor ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ได้มีการผลิตออกมาใหม่จะมีความสำคัญกับ 3D Ready Projector เป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์นี้จะช่วยในการแปลงสัญญาณทำให้โปรเจคเตอร์ 3D Ready 720p สามารถฉายภาพสามมิติจากเครื่อง 3D Blu-Ray Player ได้โดยใช้พอร์ท HDMI
DLP Link

DLP Link คือระบบส่งสัญญาณที่ทำให้โปรเจคเตอร์และแว่นตาสามมิติทำงานสัมพันกันโดยไม่ ต้องใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (Emitter) DLP 3D Projector นอกจากจะสร้างภาพบนจอภาพแล้วในขณะเดียวกันยังส่งสัญญาณควบคุมไปยังแว่นตาสาม มิติด้วยโดยเรียกระบบสัญญาณนี้ว่า DLP Link เทคโนโลยี DLP สามารถสร้างภาพได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถฉายภาพสองภาพซ้อนกันบนจอรับภาพได้ เหมือนกับเป็นภาพเพียงภาพเดียว นอกจากการสร้างภาพสองภาพแล้วชิพ DLP ยังทำการส่งสัญญาณพิเศษไปยังแว่นตาสามมิติด้วยโดยสัญญาณพิเศษนี้จะแซกอยู่ ระหว่างเฟรมภาพที่ถูกสร้างขึ้น สัญญาณพิเศษนี้ทำให้แว่นตาสามมิติสามารถทำงานร่วมกับโปรเจคเตอร์ได้อย่างถูก ต้องโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ส่งสัญญาณ (Emitter) ระบบ DLP Link ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณเพิ่มเติมและยังทำให้การติดตั้ง ใช้งานระบบ 3D DLP Ready สะดวกขึ้นด้วย
การติดตั้งใช้งานระบบการฉายภาพสามมิติ 3D DLP Ready
การติดตั้งระบบสามมิติ 3D DLP Ready สามารถติดตั้งได้อย่างง่ายๆไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ที่จะต้องใช้คือเครื่องโปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งสัญญาณภาพที่ 120 Hz หรือเครื่องเล่นดีวีดีระบบ 60Hz-NTSC และแว่นตาสามมิติ (3D DLP LCD Shuttered Glasses) โดยที่ตัวแว่นตาจะมีสัญญลักษ์ DLP Link ซึ่งบอกให้ทราบว่าสามารถใช้งานได้กับระบบ 3D DLP Ready การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานร่วมกันจะมีในส่วนของเครื่องโปรเจคเตอร์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องโปรเจคเตอร์กับเครื่องเล่นดีวีดีซึ่งจะใช้ สายสัญญาณ Analog VGA/RGB ในการเชื่อมต่อ สำหรับตัวแว่นตาสามมิติเมื่อเปิดสวิทก็จะสามารถรับสัญญาณ DLP Link ที่ส่งออกมาจากเครื่องโปรเจคเตอร์ได้โดยอัตโนมัติทันที
โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready มีความสามารถในการฉายภาพแบบปรกติ (2D) และสามารถฉายภาพระบบสามมิติ (3D) ด้วย ในการใช้งานจะต้องปรับระบบการฉายภาพจากเมนูของเครื่องโปรเจคเตอร์ โดยจะมีเมนูสำหรับปรับการฉายภาพระบบสามมิติอยู่สองเมนูคือเมนู 3D และเมนู 3D Sync L/R
เมนู 3D จะมีให้เลือกปรับใช้งานระบบสามมิติ Nvidia 3D Vision ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Nvidia และระบบ 3D DLP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Texas Instruments
- เลือกใช้เป็น Nvidia 3D Vision เมื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ระบบสามมิติ Nvidia 3D Glasses , IR Emitter , Nvidia Graphic Card
- เลือกเป็น 3D DLP เมื่อใช้งานร่วมกับ 3D DLP Glasses , Graphic Card (Nvidia/ATI) ซึ่งสามารถให้สัญญาณภาพที่ 120 Hz
เมนู 3D Sync L/R ใช้ในกรณีที่ภาพสามมิติมีการสลับข้างกัน โดยปรับเป็น Invert ก็จะทำการสลับภาพจากซ้ายเป็นขวาและขวาเป็นซ้าย
โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready มีออกมาวางจำหน่ายหลายรุ่นโดยแต่ละรุ่นต่างก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ส่วนใหญ่ได้มีการออกแบบมาเป็นโปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองานและเป็นโปรเจคเตอร์ ที่มีราคาที่ไม่แพงมากนัก โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready สามารถปรับใช้งานได้ทั้งการฉายภาพแบบธรรมดา (2D) และปรับใช้งานในการฉายภาพระบบสามมิติ (3D) ได้ โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการฉายภาพในระบบการเรียนการสอนใน สถานศึกษา การพรีเซนเทชันงานในระบบธุรกิจหรือฉายภาพขนาดใหญ่ตามสถานที่จัดงานแสดงโชว์ สินค้าต่างๆ และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการเล่นเกมส์ก็สามารถใช้โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ในการเล่นเกมส์สามมิติซึ่งก็จะให้ความรู้สึกประทับใจกับผู้เล่นได้เป็นอย่าง มาก ในส่วนของโฮมเธียเตอร์ในขณะนี้โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready สามารถฉายภาพสามมิติในรูปแบบ Frame Sequential เท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่าภาพยนตร์สามมิติที่ถูกผลิตมาในรูปแบบ Frame Packed และ Side-by-Side หรือรูปแบบอื่นๆนั้นยังไม่สามารถนำมาใช้กับโปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ได้ ในอนาคตน่าจะได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสามมิติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและ สามารถทำงานสอดคล้องกันได้ดีขึ้นทั้งในส่วนของอุปกรณ์ฉายภาพ ระบบการบันทึกและฉายภาพสามมิติ เช่นกล้องถ่ายภาพยนตร์สามมิติ แว่นตาสามมิติ 1080p 3D Ready Projector หรือ 3D Projector Adaptor เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น