วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พิโคโปรเจคเตอร์ (Pico Projector)


          พิโคโปรเจคเตอร์ (Pico Projector) เป็นโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กสายพันธ์ใหม่ซึ่งมีการออกแบบมาให้สามารถพกพาได้ สะดวก  ขนาดเครื่องของพิโคโปรเจคเตอร์มีขนาดเล็กพอๆกับเครื่องโทรศัพท์มือถือเท่า นั้น  พิโคโปรเจคเตอร์ใช้เทคโนโลยีในการแสดงภาพเช่นเดียวกันกับโปรเจคเตอร์ทั่วๆ ไปอธิเช่นเทคโนโลยี DLP หรือเทคโนโลยี LCOS
          มีหลายบริษัทที่ผลิตโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กชนิดพิโคโปรเจคเตอร์นี้ออกมาจำหน่าย ซึ่งแต่ละบริษักก็ได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไปในการผลิตพิโค โปรเจคเตอร์ของตนเอง  ตัวอย่างเช่นพิโคโปรเจคเตอร์ Optoma PK-101 ใช้เทคโนโลยี DLP ในการแสดงภาพหรือพิโคโปรเจคเตอร์ของ Aiptek รุ่น PocketCinema V10 ใช้เทคโนโลยี LCOS ในการแสดงภาพ  พิโคโปรเจคเตอร์ของ 3M รุ่น MPro110 ก็ใช้เทคโนโลยี LCOS ในการแสดงภาพเช่นเดียวกัน 
         ความสว่างของพิโคโปรเจคเตอร์มีไม่สูงมากนักซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับโปรเจค เตอร์ทั่วๆไปที่มีความสว่าง 2000 Lumens ที่ใช้ในการนำเสนองาน  ตัวอย่างเช่นพิโคโปรเจคเตอร์รุ่น PK101 ของ Optoma ซึ่งมีความสว่างอยู่ที่ประมาณ 9 Lumens หรือพิโคโปรเจคเตอร์ 3M รุ่น MPro110 มีความสว่าง 8 Lumens  จากความสว่างของพิโคโปรเจคเตอร์ที่มีน้อยทำให้หลายคนอาจคิดว่าพิโคโปรเจค เตอร์ไม่น่าจะฉายภาพได้ชัดเจนเท่าไหร่  แต่ด้วยการใช้ระยะทางห่างจากจอรับภาพไม่มากและขนาดภาพที่ไม่ใหญ่ทำให้พิโค โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้คมชัดเจนทีเดียว  ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสว่างภายในห้องด้วยถ้าห้องยิ่งมืดภาพที่ได้ก็ จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น  ความละเอียดของพิโคโปรเจคเตอร์ยังคงมีความละเอียดไม่สูงเช่นกันโดยมีความ ละเอียดอยู่ที่ VGA ตัวอย่างเช่นพิโคโปรเจคเตอร์รุ่น PocketCinema V10 ของบริษัท Aiptek และพิโคโปรเจคเตอร์รุ่น MPro110 ของ 3M มีความละเอียด VGA (640 x 480) ส่วนพิโคโปรเจคเตอร์ของ Optoma PK-101 และ Samsung MBP200 ฉายภาพที่ความละเอียด HVGA (480 x 320) พิโคโปรเจคเตอร์ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ (Rechargeable Battery)  ในกรณีที่โปรเจคเตอร์มีแบตเตอร์รี่เต็มอาจจะสามารถฉายภาพได้นานเป็นชั่วโมง  และเมื่อปรับให้โปรเจคเตอร์ฉายภาพในโหมดประหยัดพลังงานก็จะทำให้สามารถฉาย ภาพได้นานมากขึ้น
           แบตเตอร์รี่ของพิโคโปรเจคเตอร์สามารถชาร์ทไฟได้จากไฟบ้านปรกติหรือสามารถ ชาร์ทไฟได้โดยการเชื่อมต่อกับพอร์ท USB บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  พิโคโปรเจคเตอร์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบามากเมื่อเปรียบเทียบกับโปรเจคเตอร์ ทั่วไปพิโคโปรเจคเตอร์ของ Optoma PK101 มีน้ำหนักเพียง 114 กรัมเท่านั้น  พิโคโปรเจคเตอร์สามารถพกพาใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกงได้อย่างสะดวก  ในส่วนของพอร์ทรับและส่งสัญญาณบนตัวเครื่องจะมีมาให้ไม่มาก  เนื่องจากตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กพิโคโปรเจคเตอร์จึงมีพอร์ทรับส่งสัญญาณที่ จำกัดโดยพิโคโปรเจคเตอร์มีพอร์ทมาตราฐานเป็นพอร์ท Composite Video ในการรับสัญญาณภาพ  การจะเชื่อมต่อสัญญาณกับอุปกรณ์อื่นๆจึงต้องใช้การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์แปลง สัญญาณ (Adaptor)       
           พิโคโปรเจคเตอร์ใช้ระยะในการฉายภาพไม่มากสามารถฉายภาพได้ในทุกสถานที่ส่วน ขนาดภาพที่ฉายได้ก็ไม่น่าจะใหญ่เกิน 100 นิ้ว  พิโคโปรเจคเตอร์ของ Aiptek รุ่น PocketCinema V10 ฉายภาพได้ขนาด 6 – 50 นิ้วส่วนพิโคโปรเจคเตอร์ของ Optoma รุ่น PK-101 ฉายภาพได้ขนาด 6 – 60 นิ้ว  พิโคโปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้บนทุกพื้นผิวโดยไม่ต้องใช้จอรับภาพ  หลอดภาพที่ใช้ในการให้ความสว่างของพิโคโปรเจคเตอร์เป็นหลอดภาพเทคโนโลยี LED
           ข้อดีของการใช้หลอดภาพชนิดนี้คือมีขนาดเล็กทำให้สามารถผลิดเครื่องพิโค โปรเจคเตอร์ที่มีขนาดเล็กได้  หลอดภาพ LED ใช้พลังงานต่ำมีความร้อนขณะใช้งานน้อยทำให้พิโคโปรเจคเตอร์ไม่ต้องใช้พัดลม ในการระบายความร้อน  อายุการใช้งานของหลอดภาพ LED ก็ยาวนานโดยสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 20000 ชั่วโมงโดยประมาณซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดภาพลงไปได้มากที เดียว พิโคโปรเจคเตอร์สามารถนำมาใช้ในการนำเสนองานหรือ ฉายภาพวีดีโอในกรณีที่มีผู้ชมไม่มากนักซัก 3 – 5 คน  โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้ขนาดไม่ใหญ่นักความละเอียดก็ยังน้อยอยู่แต่ก็ สามารถฉายภาพได้ในทุกพื้นผิวและใช้ระยะในการฉายภาพน้อย  ตัวเครื่องมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาพกพาได้สะดวก  หลอดภาพมีอายุการใช้งานยาวนานประหยัดค่าใช้จ่าย  พิโคโปรเจคเตอร์จากบริษัทผู้ผลิตหลากหลายแบรนด์ได้ทยอยเปิดตัวออกสู้ท้อง ตลาดแล้วจำนวนหนึ่ง  และยังมีอีกหลายรุ่นที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการผลิตซึ่งก็จะทยอยตามออกมาอย่าง ต่อเนื่อง  Pico Projector 720p ได้มีการผลิตออกมาแล้วและก็น่าจะเปิดตัวออกสู่ตลาดเร็วๆนี้
          ในอนาคตพิโคโปรเจคเตอร์จะถูกพัฒนาให้มีคุณภาพที่ สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านความละเอียดและความคมชัดของภาพ  มีคุณสมบัติรองรับการฉายภาพวีดีโอหลากหลายรูปแบบมากขึ้น  มีการพัฒนาทั้งในส่วนของความสว่างและ Contrast Ratio ให้สูงขึ้น  พัฒนาแบตเตอร์รรี่ให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น