วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ (Projector) 2


                    ปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและถือได้ว่าจำเป็น ชนิดหนึ่งในการนำเสนองานและการฉายภาพ โปรเจคเตอร์ถูกนำมาใช้ในการฉายภาพสำหรับการนำเสนองานในประชุมของหน่วยงานอง กรราชการและบริษัทเอกชน โปรเจคเตอร์ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฉายภาพในการนำเสนอภาพขนาดใหญ่ตามงานแสดง สินค้าหรืองานแสดงต่างๆ โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพยนตร์โดยให้ภาพขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ผู้ชมได้รับความ รู้สึกเช่นเดียวกับการรับชมภาพยนตร์ภายในโรงภาพยนตร์ เทคโนโลยีใหม่ๆได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตและพัฒนาโปรเจคเตอร์อยู่เสมอซึ่งก็ เป็นผลให้โปรเจคเตอร์มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง เช่นการพัฒนาให้มีน้ำหนักเบาขึ้นและรองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมาก ขึ้นรวมถึงให้คุณภาพของภาพที่คมชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย ในเรื่องของราคาที่ถึงแม้ว่าราคาของโปรเจคเตอร์จะลดลงจากสมัยก่อนค่อนข้าง มากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ผู้ที่คิดจะซื้อโปรเจคเตอร์มาใช้งานสักเครื่องควร พิจารณาถึงคุณภาพในการใช้งานและความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน
เทคโนโลยีใหม่ๆได้ถูกคิดค้นและมีการพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่องเพียงระยะเวลาไม่กี่ปีเท่านั้นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆก็ถูก ผลิตออกมาด้วยขนาดที่เล็กลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในส่วนของโปรเจคเตอร์เช่นมีโปรเจคเตอร์แบบใหม่ๆออกมา หลายชนิดซึ่งโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย และมีการเพิ่มเติมคุณสมบัติพิเศษเข้าไปด้วย

Pico Projector และ Pocket Projector เป็นโปรเจคเตอร์ที่มีตัวเครื่องขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบาจึงเหมาะสำหรับการพก พาไปใช้งานนอกสถานที่ โดยเฉพาะ Pico โปรเจคเตอร์ซึ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่มีขนาดเล็กมากๆโดยมีขนาดเครื่องเล็กเทียบ เท่ากับเครื่องโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ส่วน Pocket Projector จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยแต่ก็ยังถือว่าเป็นโปรเจคเตอร์ที่เล็กอยู่ดีเมื่อ เทียบกับโปรเจคเตอร์ปรกติทั่วๆไป

3D DLP Ready Projector เป็นโปรเจคเตอร์ที่มีคุณสมบัติในการฉายภาพสามมิติ โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพสามมิติที่มีความลึกของมิติภาพซึ่งสร้างความประทับ ใจให้กับผู้ที่รับชมเป็นอย่างมาก ในสมัยก่อนภาพยนตร์สามมิติจะหาชมได้ก็จากโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจึงทำให้สามารถนำระบบสามมิติมาใช้กับ โปรเจคเตอร์ได้ โปรเจคเตอร์ 3D DLP Ready ยังเป็นโปรเจคเตอร์ที่สามารถใช้งานในการฉายภาพปรกติเช่นการนำเสนองานในระบบ สองมิติได้และเมื่อต้องการฉายภาพสามมิติก็สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างสะดวก อีกด้วย

Short Throw Projector เป็นโปรเจคเตอร์ที่สามารถฉายภาพได้ขนาดใหญ่ในระยะห่างจากจอรับภาพไม่มาก โดยบางรุ่นอาจสามารถฉายภาพได้ในระยะห่างจากจอรับภาพเพียงไม่ถึง 1 เมตรเท่านั้น Short Throw Projector จึงเหมาะกับการฉายภาพในสถานที่ๆมีพื้นที่จำกัด

โปรเจคเตอร์ชนิดใหม่ซึ่งเรียกว่า Interavtive Projector เป็นโปรเจคเตอร์ซึ่งคุณสมบัติของ Interactive Whiteboard ในตัวทำให้สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับกระดาน Interactive Whiteboard ทั่วๆไป โปรเจคเตอร์ชนิดนี้นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับโปรเจคเตอร์ซึ่งน่าสนใจเป็น อย่างยิ่ง โดยการฉายภาพไปที่กระดานหรือจอภาพปรกติก็สามารถใช้งานคุณสมบัติของ Interactive Whiteboard ได้
ในส่วนของหลอดภาพโปรเจคเตอร์มีการนำเทคโนโลยี LED มาใช้ในการผลิตหลอดภาพทำให้หลอดภาพมีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น ข้อดีของหลอดภาพซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยี LED คือมีอายุการใช้งานยาวนานโดยมีอายุการใช้งานได้นานถึง 10000 – 20000 ชั่วโมงที่เดียว แต่หลอดภาพชนิดนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ให้ความสว่างได้ไม่สูงเท่ากับหลอดภาพ ปรกติ และด้วยเทคโนโลยีในการผลิตที่เล็กทำให้หลอดภาพ LED ถูกนำมาใช้ในการผลิดโปรเจคเตอร์ขนาดเล็กเช่น Pico Projector หรือ Pocket Projector
ในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์นั้นควรจะพิจารณาก่อน ว่าจะนำโปรเจคเตอร์ไปใช้ในงานประเภทไหน โปรเจคเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นใช้ ในการนำเสนองานในห้องประชุม , พกพาไปใช้นอกสถานที่ , ใช้ติดตั้งถาวรในห้องประชุม , ฉายภาพยนตร์ภายในบ้านหรือการใช้งานในประเภทอื่นๆ ตัวอย่างเช่นโปรเจคเตอร์สำหรับโฮมเธียเตอร์ซึ่งมีอัตราส่วนภาพ 16:9 ก็จะใช้สำหรับการฉายภาพยนตร์เป็นหลัก ส่วนโปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองานก็จะใช้โปรเจคเตอร์ซึ่งเรียกว่า Data Projetor ซึ่งมีอัตราส่วนภาพ 4:3 ในการฉายภาพ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกโปรเจคเตอร์จากคุณสมบัติพิเศษเช่นโปรเจคเตอร์ Short Throw สำหรับใช้งานในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัดหรือโปรเจคเตอร์ไร้สาย (Wireless Projector) ซึ่งสามารถฉายภาพได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อสายสัญญาณภาพกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติเบื่องต้นที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์
ความสว่าง (Brightness)
โปรเจคเตอร์แต่ละรุ่นจะมีค่าความสว่างแตกต่างกัน ค่านี้จะถูกระบุเป็นตัวเลขและจะใช้หน่วยเป็น ANSI lumens ANSI (American National Standards Institute) lumens คือมาตราที่ใช้ในการวัดค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์ ค่านี้ถ้ายิ่งมากก็หมายความว่าโปรเจคเตอร์ตัวนั้นสามารถฉายภาพได้สว่างมาก ขึ้น ตัวอย่างเช่นโปรเจค เตอร์ (a) มีค่าความสว่าง 1500 ANSI Lumens ส่วนโปรเจคเตอร์ (b) มีค่าความสว่าง 2000 ANSI Lumens ดังนั้นโปรเจค เตอร์ (b) จึงสามารถฉายภาพได้สว่างมากกว่าโปรเจคเตอร์ (a) ปัจจุบันโปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองาน (Data Projector) ส่วนใหญ่จะมีความสว่างอย่างน้อย 2000 Lumens ขึ้นไป จะมีก็แต่โปรเจคเตอร์สำหรับโฮมเธียเตอร์เท่านั้นที่ยังมีความสว่างไม่สูงมาก นักคือมีความสว่างในระดับ 1000 – 2000 Lumens
ตัวแปรสำคัญในการเลือกค่าความสว่างของโปรเจคเตอร์ คือสภาพแวดล้อมของแสงภายใน สถานที่ที่จะนำโปรเจคเตอร์ไปใช้งาน ถ้าสถานที่นั้น มีแสงสว่างมากก็ควรจะเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีค่า ANSI lumens มากขึ้นตามไปด้วยเพราะว่า การนำโปรเจคเตอร์ที่มีค่า ANSI lumens น้อยไปฉายในสถานที่ที่มีความสว่างมากจะทำให้เห็นภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ในกรณีที่ต้องฉายภาพในสถานที่ๆมีแสงสว่างควรพิจารณาใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความ สว่างสูง หรือถ้าสามารถควบคุมปริมาณแสงสว่างภายในห้องที่ใช้ฉายภาพได้ก็จะเป็นการดี เช่นการติดตั้งตัวปรับแสง (Dimmer) ซึ่งก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ และควรจะปรับแสงที่บริเวณใกล้กับจอรับภาพให้มืดที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย อย่างไรก็ตามขอแนะนำว่าควรจะเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีค่า ANSI lumens มากที่สุดเท่าที่จะสามารถหาซื้อได้
ความละเอียด (Resolution)
ภาพที่เรารับชมจากภาพยนตร์หรือภาพต่างๆในจอ คอมพิวเตอร์นั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยการนำพิกเซล (pixels คือจุดของสีที่มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ) เป็นจำนวนมากมาประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ โดยที่ค่าความละเอียด (Resolution) ก็คือค่าที่ใช้บอกจำนวนของพิกเซลที่โปรเจคเตอร์สามารถแสดงออกมาเป็นภาพได้ ค่าความละเอียด (Resolution) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้
Standard (4:3)
ค่าความละเอียด พิกเซลในแนวนอน พิกเซลในแนวตั้ง จำนวนพิกเซลรวม
 SVGA 800 600 480000
 XGA 1024 768 786000
 SXGA 1280 1024 1311000
 SXGA+ 1400 1050 1392540
Widescreen (16:9)
ค่าความละเอียด พิกเซลในแนวนอน พิกเซลในแนวตั้ง จำนวนพิกเซลรวม
 WVGA 854 480 410000
 WSVGA 1024 576 590000
 720p (HD) 1280 720 921600
 1080p (HD) 1920 1080 2073600
Widescreen (16:10)
ค่าความละเอียด พิกเซลในแนวนอน พิกเซลในแนวตั้ง จำนวนพิกเซลรวม
 WXGA 1280 800 1024000
ควรเลือกค่าความละเอียดของโปรเจคเตอร์ ให้เพียงพอกับการใช้งาน การ ฉายภาพยนตร์หรือการ presentation งานโดย Program PowerPoint หรือ word ที่ไม่ต้องการค่าความละเอียดสูงมากนักค่าความละเอียด SVGA ก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องการภาพที่มีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้นเช่นในการแสดงภาพกราฟฟิกที่มี ความละเอียดค่อนข้างมากและต้องการความคมชัดสูงควรพิจารณาค่าความละเอียด XGA ขึ้นไป
Native Resolution หรือบางทีก็เรียกว่า True Resolution จะเป็นการบอกถึงจำนวนของพิกเซลจริงๆที่มากที่สุดที่โปรเจคเตอร์ตัวนั้น สามารถแสดงออกมาได้เช่น โปรเจคเตอร์มีค่าความละเอียด Native Resolution เป็น SVGA จะบอกได้ว่าโปรเจคเตอร์ตัวนั้นสามารถแสดงภาพได้โดยมีจำนวนพิกเซลมากที่สุด เท่ากับ 480,000 พิกเซล
ความเหมาะสมของความละเอียดระหว่างคอมพิวเตอร์ และโปรเจคเตอร์ส่งผลถึงความชัดเจนของภาพ โดยที่ถ้าความละเอียดของอุปกรณ์ส่งสัญญาณภาพและความละเอียดของโปรเจคเตอร์ ไม่เหมาะสมกันก็จะทำให้ได้ภาพที่ไม่คมชัดเจน เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะแสดงผลด้วย Resolution ที่เป็น XGA เมื่อส่งสัญญาณที่มี Resolution เป็น XGA จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปที่โปรเจคเตอร์ที่มี Native Resolution เป็น SVGA ซึ่งมีความละเอียดต่ำกว่าความละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ คุณภาพความชัดเจนของภาพที่ถูกฉายออกมาจากโปรเจคเตอร์จะลดลงถึงแม้ว่าโปรเจค เตอร์จะมีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า XGA Compression (XGA Compression เป็นการบีบอัดขนาดของภาพเพื่อให้ได้พิกเซลที่เล็กลงถ้าเป็นภาพธรรมดาจะมอง ไม่เห็นความผิดปรกติมากนัก แต่จะเห็นได้ชัดเจนในการแสดงตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก) อยู่ก็ตาม ดังนั้นจึงควรพิจารณาความละเอียดที่เหมาะสมกันทั้งในส่วนของอุปกรณ์ส่ง สัญญาณภาพ (เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นดีวีดี) และเครื่องโปรเจคเตอร์ เช่นถ้าต้องการฉายภาพความละเอียด XGA ก็ควรใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความละเอียด XGA ด้วยเช่นกัน
Contrast Ratio
Contrast Ratio คืออัตราส่วนที่ได้จากการวัดค่าปริมาณแสงในส่วนที่สว่างที่สุดและนำมาเปรียบ เทียบกับส่วนที่มืดที่สุด ค่า Contrast Ratio มีความสำคัญคือสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคุณภาพของอุปกรณ์สำหรับฉายภาพได้ โดยทั่วๆไปถ้า Contrast Ratio สูงหมายความว่าจะได้ภาพที่คมชัดเจนมากขึ้น Contrast Ratio มีวิธีการวัดอยู่สองแบบคือ
1. Full On/Off Contrast คือการวัด Contrast โดยทำให้ภาพบนจอภาพส่วนหนึ่งมืดที่สุดและทำให้ภาพอีกส่วนสว่างที่สุด จากนั้นจะใช้อุปกรณ์สำหรับวัดความสว่าง (Light Meter) ในการวัดระดับความแตกต่างของความสว่างจากภาพทั้งสองส่วนและนำมาคำนวนออกมา เป็นอัตราส่วน
2. ANSI Contrast คือการวัด Contrast โดยการใช้ภาพขาวดำลักษณะเป็นตารางหมากรุกจำนวนสิบหกภาพในการวัดหาค่าเฉลี่ย ของแสงสว่างเพื่อนำมาคำนวนเป็นอัตราส่วน

ค่า Contrast Ratio ยิ่งมากก็จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดเจนมากขึ้นและยังทำให้เห็นถึงมิติของภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย
                           Contrast สูง                        Contrast ต่ำ
อัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio)
Aspect Ratio คืออัตราส่วนของความกว้างตามแนวนอนและความสูงของภาพซึ่งจะมีอยู่หลายขนาด เช่นอัตราส่วนภาพ 1:1 ภาพจะมีความกว้าง 1 ส่วนและยาว 1 ส่วนภาพที่ได้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส อัตราส่วน 4:3 ภาพจะมีความกว้าง 4 ส่วนและสูง 3 ส่วนภาพจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า อัตราส่วน 16:9 ภาพจะมีความกว้าง 16 ส่วนและสูง 9 ส่วน ขนาดภาพ 16:9 นี้เราจะพบได้จากการชมภาพยนตร์หรือที่เรียกว่าภาพแบบ Widescreen (ค่า Resolution ของภาพแบบ Windscreen จะมีตัวอักษร W นำหน้าเช่น WVGA = 854 x 480 , WSVGA = 1024 x 576 , WXGA = 1280 x 720)
ปัจจุบันเครื่องโปรเจคเตอร์มีความสามารถในการ แสดงภาพได้หลายอัตราส่วนเช่นโปรเจคเตอร์มีอัตราส่วนภาพ Native Aspect Ratio เป็น 4:3 แต่ก็สามารถฉายภาพที่มีอัตราส่วน 16:9 หรืออัตราส่วนอื่นๆได้เช่นกัน
อัตราส่วนภาพ 4:3 และ 16:9 เป็นอัตราส่วนพื้นฐานซึ่งได้รับความนิยมและมีใช้กันมาเป็นเวลานานทีเดียว ปัจจุบันมีอัตราส่วนภาพชนิดใหม่คืออัตราส่วนภาพ 16:10 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ได้รับความนิยมทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและ เครื่องโปรเจคเตอร์ โดยโปรเจคเตอร์ที่มีอัตราส่วน 16:10 มีให้เห็นเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว โปรเจคเตอร์ 16:10 ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีอัตราส่วน 16:10 เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์โดยไม่ต้องบีบขนาดภาพหรือขยายขนาดภาพ
ขนาดของภาพ (Image Sides) และระยะในการแสดงภาพ (Projection Distance)

Projection Distance ภาพที่ได้จากโปรเจคเตอร์แต่ละตัวจะมีขนาดที่ใหญ่และเล็กไม่เท่ากันขึ้นอยู่ กับระยะทางระหว่างโปรเจคเตอร์กับจอรับภาพและเลนส์ที่ใช้ เช่นโปรเจคเตอร์ตัวหนึ่งสามารถฉายภาพที่มีขนาดเท่ากับ 30 - 300 นิ้วที่ระยะทาง 1 - 9 เมตร หมายความว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้จะสามารถฉายภาพได้ขนาด 30 นิ้วที่ระยะทางห่างจากจอรับภาพ 1 เมตรและจะสามารถฉายภาพ ได้ขนาดใหญ่ที่สุด 300 นิ้วที่ระยะทางห่างจากจอรับภาพ 9 เมต ถ้านอกเหนือจากนี้จากระยะดังกล่าวแล้วจะไม่สามารถปรับโฟกัสเพื่อความชัดเจน ได้ จะเห็นได้ว่าขนาดของภาพขึ้นอยู่กับระยะห่างของโปรเจคเตอร์กับจอรับภาพ
Image sides ในการบอกขนาดของภาพที่โปรเจคเตอร์สามารถฉายได้นั้นจะเป็นการบอกขนาดในแนว ทะแยงมุมเช่น โปรเจคเตอร์ฉายภาพได้ใหญ่ที่สุด 100 นิ้ว ตัวเลข 100 นิ้วนี้ได้มาจากการวัดจากมุมขวาบนลงไปหามุมซ้ายล่างหรือมุมซ้ายบนลงไปหามุม ขวาล่างของภาพ
โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นข้อ ได้เปรียบของโปรเจคเตอร์ที่เหนือกว่าอุปกรณ์ฉายภาพชนิดอื่นๆ ขนาดภาพที่ใหญ่ทำให้สามารถรับชมรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและในสถานที่ ขนาดใหญ่การฉายภาพด้วยโปรเจคเตอร์ทำให้ผู้ชมสามารถรับชมภาพได้อย่างทั่วถึง แต่ในการที่จะได้ขนาดภาพที่ใหญ่โปรเจคเตอร์ก็จะต้องใช้ระยะในการฉายภาพมาก ขึ้นซึ่งทั้งขนาดภาพและระยะในการฉายภาพจะมีความสัมพันกันอยู่ ในกรณีที่ต้องการภาพขนาดใหญ่แต่มีพื้นที่ในห้องจำกัดอาจแก้ปัญหาได้ด้วยการ ใช้เลนส์เสริมพิเศษหรือใช้โปรเจคเตอร์ Short-Throw ในการฉายภาพ
Projector Technology (LCD , DLP , LCOS)
ระบบกลไกที่โปรเจคเตอร์ใช้ในกระบวนการเพื่อทำ ให้เกิดเป็นภาพให้เราได้เห็นกันนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องศึกษาทำ ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง โปรเจคเตอร์แต่ละเครื่องอาจจะใช้เทคโนโลยีในการฉายภาพที่แตกต่างกันไปในแต่ ละยี่ห้อ และเทคโนโลยีที่แตกต่างกันก็จะให้คุณภาพในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน ปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์ถูกผลิตออกมาวางจำหน่ายด้วยเทคโนโลยีเช่นเทคโนโลยี LCD (Liquid Crystal Display) , เทคโนโลยี DLP (Digital Light Processing) และเทคโนโลยี LCOS (Liquid Crystal on Silicon)
LCD Technology
LCD เป็นเทคโนโลยีในการสร้างภาพโดยใช้วิธียิงลำแสงแสงผ่านแผ่น LCD ใน สมัยก่อนโปรเจคเตอร์ใช้แผ่น LCD แผ่นเดียวแต่ใน ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ LCD สามแผ่น โปรเจคเตอร์ที่ใช้ LCD แผ่นเดียว ( Single-Panel LCD) จะใช้แผ่น TFT (Thin Film Transistor) Active-Matrix LCD Panel ในการสร้างภาพ แผ่น LCD นี้ประกอบด้วยแผ่นกระจก (Grass Plate)และแผ่นกรองสี (Color Filter Plate) โดยมีแผ่น Liquid Crystal อยู่ตรงกลาง แผ่น LCD จะมีพิกเซลสำหรับทำให้เกิดเป็นภาพเรียงตัวกันอยู่เป็นจำนวนมากโดยที่แต่ละ พิกเซลจะถูกควบคุมโดยทรานซิสเตอร์หนึ่งตัวถึงสี่ตัว เมื่อทรานซิสเตอร์ได้รับพลังงานก็จะสามารถเปิดให้แสงสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินผ่านไปได้ หรือเมื่ออยู่ในสถานะปิดก็จะเป็นตัวกั้นไม่ให้แสงที่เราไม่ต้องการผ่านแผ่น LCD ไปได้ ระบบ LCD จึงเป็นการสร้างภาพโดยการยอมให้แสงผ่านทะลุแผ่น LCD ไปได้ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า (Transmissive)
ปัจจุบันโปรเจคเตอร์ใช้เทคโนโลยี LCD สามแผ่น (3-Panel LCD) ซึ่งให้คุณภาพที่ดีกว่า LCD แผ่นเดียว (Single-Panel LCD) มาก โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่นี้ยังคงใช้แผ่น TFT (Thin Film Transistor) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนวาวล์เปิดปิดแสงเช่นเดิม แต่ได้มีการเพิ่มแผ่นแยกสี Dichroic Mirrors ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแยกแสงที่ส่งมาจากหลอดภาพออกเป็นแม่สีสามสีคือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน แสงที่ถูกแยกเป็นสีแล้วจะถูกส่งไปยังแผ่น LCD ทั้งสามแผ่นหลังจากนั้นก็จะทำการรวมสีต่างๆเข้าด้วยกันด้วยปริซึม (Prism) และจากนั้นภาพจะถูกส่งไปที่เลนส์เพื่อฉายเป็นภาพที่ปรากฏบนจอรับภาพ

ระบบ LCD เป็นระบบที่ติดตั้งถาวรโดยในการทำงานไม่มีการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนใดๆเลย และในกระบวนการสร้างภาพก็ใช้วิธีส่งแสงแผ่น LCD ทำให้สูญเสียปริมาณแสงน้อย ภาพที่ปรากฏออกมาจึงมีความสว่าง ความสดใสและสามารถแสดงสีสันได้อย่างสมจริงเป็นธรรมชาติ โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี LCD ในการแสดงภาพจะสามารถให้ความสว่างได้ค่อนข้างดีโดยเฉพาะเมื่อต้องฉายภาพใน สถานที่ที่มีแสงสว่าง
DLP Technology
DLP (Digital Light Processing) เป็นกระบวนการสร้างภาพในระบบดิจิตอลซึ่งพัฒนาโดย Texas Instruments เทคโนโลยีนี้ เป็นการนำระบบกลไกขนาดเล็ก Micro-Electromechanical เข้ามาใช้ในการสร้างภาพและเป็นระบบที่ต้องมีการสะท้อนภาพแสง (Reflective) แสงจะถูกสะท้อนโดยกระจกเงาเล็กๆ (Microscopic Mirrors) เป็นจำนวนมากที่บรรจุอยู่บนชิพที่เรียกว่า DMD (Digital Micromirror Device) ตัวชิพนี้คิดค้นขึ้นโดย Dr .Harry Hornbeck แห่งสถาบันTexas Instruments ในปี ค.ศ.1987 กระจกเงาจะถูกติดตั้งไว้กับกลไกที่มีลักษณะเหมือนกับบานพับที่สามารถเอียง ตัวเพื่อรับและสะท้อนแสง เมื่อมีสัญญาณภาพเข้ามาในระบบ DLP กระจกเงาบนชิพ DMD ก็จะทำงาน เมื่อกระจกเงาเอียงไปในทิศทางที่รับแสงได้ก็จะสะท้อนแสงทำให้เกิดเป็นพิกเซล สว่างขึ้นหนึ่งพิกเซล (กระจกเงาหนึ่งแผ่นก็คือพิกเซลหนึ่งพิกเซลนั่นเอง) และในส่วนของพิกเซลที่ไม่ต้องการตัวกระจกเงาก็จะสะท้องแสงไปที่ตัวดูดซับแสง กระจกเงาจะทำงานเอียงไปมาในลักษณะนี้เป็นพันๆครั้งในหนึ่งวินาที นอกจากนี้กระจกเงายังมีการเอียงไปมาเพื่อให้เกิดแสงจากสว่างที่สุดไปถึงมืด ที่สุดด้วยซึ่งทำให้เกิดเป็นระดับความสว่างขึ้นได้ถึง 1024 Shades Of Grey Scale จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี DLP เป็นเทคโนโลยีการสร้างภาพโดยการสะท้อนแสง (Reflective)

ชิพ DMD ถูกบรรจุด้วยวงจรอีเล็กโทรนิคและกระจกเงาซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของเรา เสียอีก กระจกเงาเหล่านี้มีจำนวนถึง 1.3 ล้านแผ่นที่ถูกบรรจุอยู่บนชิพ โดยที่กระจกเงาเหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนทิศทางในการสะท้อนแสงหรือเลือกว่าจะ รับหรือไม่รับแสงได้ พิกเซลของภาพที่ปรากฏบนจอรับภาพเกิดมาจากกระจกเงาเหล่านี้นั่นเอง

การทำงานของกระจกเงาบนชิพอธิบายได้ดังนี้ แสงจากหลอดภาพ (Light Source) จะส่องไปยังกระจกเงาบนตัวชิพ (DMD Micromorrors) โดยที่จะมีวงจรคอยควบคุมการทำงานของชิพ กระจกด้าน ซ้ายและด้านขวาจะสะท้อนแสงไปที่เลนส์เพื่อฉายเป็นภาพ ส่วน กระจกเงาอันกลางจะสะท้อนแสงที่ไม่ต้องการไปที่ตัวดูดซับแสง (Light Absorber)
วงล้อสี (Color filter หรือ Color wheel)
ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งในระบบการสร้างภาพด้วย เทคโนโลยี DLP ก็คือการทำให้แต่ละพิกเซลเกิดเป็นสีต่างๆขึ้นมา โดยทำการวางแผ่นกรองแสงที่เรียกว่าวงล้อสี (Color Wheel) เข้าไปตรงกลางระหว่างหลอดภาพกับกระจกเงาบนชิพ DMD ในขณะที่วงล้อสีหมุนอยู่ก็จะทำให้เกิดแสงสีแดง สี เขียวและสีน้ำเงินผลัดเปลี่ยนกันตกกระทบลงบนกระจกเงาบนชิพ DMD ระบบ DLP สามารถสร้างสีที่แตกต่างกันได้มากถึง 16.7 ล้านสี ตัวอย่างเช่นสีม่วงเกิดจากการเอียงกระจกเงาสะท้อนแสงเฉพาะเมื่อมีแสงสีแดง และสีน้ำเงินตกกระทบเท่านั้น ตาและสมองของเราก็จะทำการรวมแม่สีทั้งสองเข้าด้วยกันเราจึงเห็นพิกเซลเป็นสี ม่วงขึ้นมา
วงล้อสีเป็นส่วนที่สำคัญในการทำให้เกิดภาพของ ระบบ DLP แสงจะถูกส่งผ่านวงล้อสีซึ่งหมุนเป็นพันๆรอบต่อวินาทีก่อนเพื่อทำให้เกิดสี ต่างๆ แล้วจึงเดินทางไปที่ชิพ เริ่มแรกเลยนั้นวงล้อมีเพียงสามสีคือ แดง เขียวและน้ำเงิน แต่ต่อมาก็ได้มีการเพิ่มวงล้อสีเข้ามาจน เป็นหกวงล้อสีและวงล้อเจ็ดสี ซึ่งทำให้สามารถสร้างสีได้มากขึ้นภาพที่ได้จึงมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นด้วย

ระบบ DLP มีทั้งที่ใช้ชิพเดียวและสามชิพ การเพิ่มจำนวนชิพทำให้ประสิทธิภาพในการแสดงผลดีขึ้น ระบบที่ใช้สามชิพมีราคาสูงกว่าระบบชิพเดียวจึงพบว่าโปรเจคเตอร์ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ยังจะใช้ระบบชิพเดียวอยู่
ระบบ 1-Chip DLP

ระบบ 3-Chip DLP

Three-Chip DLP เป็นระบบที่ใช้ชิพ DMD สามตัว ในการทำให้เกิดสีต่างๆจะที่ไม่ใช้วงล้อสี (Color Wheel) แต่จะเปลี่ยนมาใช้ปริซึม (Prism) ในการแยกแสงออกเป็นสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน สีหนึ่งสีจะถูกส่งไปยังชิพ DMD หนึ่งตัว กระจกเงาจะสะท้อนแสงทำให้เกิดเป็นพิกเซลและเมื่อรวมพิกเซลก็จะเกิดเป็นภาพ ขึ้น
โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี DLP ในการแสดงภาพจะสามารถให้ Contrast Ratio ได้ค่อนข้างสูง การที่มี Contrast Ratio ที่สูงทำให้โปรเจคเตอร์ฉายภาพออกมาได้อย่างคมชัดเจน ภาพที่ได้จะมองเห็นถึงความแตกต่างของระดับสีได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะเมื่อสัง เกตุจากภาพบริเวณที่มีการตัดกันของส่วนที่สว่างและส่วนที่มืด
LCOS Technology
LCOS (Liquid Crystal On Silicon) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกผลิตขึ้นโดยใช้แนวคิดในการการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี LCD กับระบบของการสะท้อนแสงที่ใช้ในเทคโนโลยี DLP LCOS เป็นเทคโนโลยีชนิดที่ใช้กระบวนการสะท้อนแสง (Reflective) โดยใช้แผ่น Liquid Crystal แทนแผ่นกระจกเงาบนชิพ DMD แผ่น LCOS ก็เหมือนกับแผ่น LCD ซึ่งถูกบรรจุด้วยเซล Liquid Crystal เป็นจำนวนมากโดยแต่ละเซลจะถูกควบคุมโดยกระแสไฟฟ้า เซลจำนวนมากมายเหล่านี้ก็คือพิกเซลที่ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง เมื่ออยู่ในสถานะเปิดก็จะสะท้อนแสงและเมื่ออยู่ในสถานะปิดก็จะไม่สะท้อนแสง ซึ่งจะใกล้เคียงกับกระบวนการสะท้อนแสงในระบบ DLP
LCOS Chip

LCOS โปรเจคเตอร์ส่วนมากจะใช้ชิพ LCOS สามตัวเหมือนกันกับระบบ LCD ที่ใช้แผ่น LCD สามแผ่น โดยชิพ LOCS แต่ละตัวก็จะทำงานกับสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน วิธีการนี้ก็จะเหมือนกับระบบ LCD ที่ใช้แผ่น LCD สามแผ่น เทคโนโลยี LCOS เป็นเทคโนโลยีที่สามารถให้ความละเอียด (Resolution)ได้สูงแต่ก็มีราคาสูงมากกว่า LCD และ DLP โปรเจคเตอร์ด้วย โดยทั่วไป LCOS โปรเจคเตอร์จะมีความละเอียดเริ่มต้นที่ SXGA (1365 x 1024) ขึ้นไป
LCOS Optical System

โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี LCOS ยังมีผู้ผลิตออกมาจำหน่ายไม่มากนักเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ โปรเจคเตอร์ LCOS ให้ความละเอียดภาพได้สูงกว่าโปรเจคเตอร์ทั่วๆไปมากแต่ก็มีราคาจำหน่ายค่อน ข้างสูงด้วย ผู้ผลิตบางรายอาจใช้ชื่อเรียกเทคโนโลยีนี้แตกต่างกันออกไปเช่นบริษัท JVC เรียกเทคโนโลยี LCOS ของตนเองว่า D-ILA ส่วนบริษัท Sony เรียกว่า SXRD
พอร์ทรับส่งสัญญาณ (Input/Output Terminal)
พอร์ทหรือช่องที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณภาพและ เสียงระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เราจะพบพอร์ทต่างๆอยู่ทางด้านหลังของตัวเครื่องโปรเจคเตอร์ ในการฉายภาพจะต้องมีการนำเอาสายสัญญาณมาเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ทเสียก่อน โปรเจคเตอร์จึงจะสามารถรับสัญญาณแล้วจึงส่งออกมาเป็นภาพได้

Analog Video Interface

RGB , VGA , D-Sub 15 Pin ช่องสัญญาณภาพสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
Component Video ช่องสัญญาณภาพวีดีโอให้ความคมชัดสูงกว่าช่อง Composite Video และ S-Video ส่วนมากช่องสัญญาณนี้มักจะมีอยู่ในโฮมเธียเตอร์โปรเจคเตอร์
S-Video ช่องสัญญาณภาพวีดีโอให้ความคมชัดสูงกว่าช่อง Composite Video
Composite Video ช่องสำหรับสัญญาณภาพวีดีโอ
Audio L/R ช่องสำหรับสัญญาณเสียงด้านซ้ายและขวา

Digital Video Interface

DVI-I ช่องสัญญาณภาพสำหรับสัญญาณภาพดิจิตอลและสัญญาณภาพอนาลอก
DVI-D ช่องสัญญาณสำหรับสัญญาณภาพดิจิตอล
HDMI ช่องสัญญาณดิจิตอลสำหรับสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง

Control Interface

พอร์ท RJ45 สำหรับเชื่อมต่อสาย LAN เพื่อควบคุมเครื่องโปรเจคเตอร์ด้วยระบบ Wired Network
พอร์ท RS232 สำหรับดูแลหรือซ่อมแซมเครื่องโปรเจคเตอร์โดยช่างเทคนิคหรือโดยผู้ผลิต
พอร์ท USB Type-B และ USB Type-A สำหรับใช้เป็นพอร์ทควบคุมได้เช่น Mouse Control หรือในบางรุ่นสามารถใช้เป็นพอร์ทรับสัญญาณภาพในการฉายภาพได้
พอร์ทต่างๆเหล่านี้เป็นพอร์ทมาตรฐานที่โปรเจค เตอร์เครื่องหนึ่งๆควรจะมีซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วยว่าจะให้พอร์ทใด มาบ้าง โปรเจคเตอร์ที่มีพอร์ทหลากหลายก็จะทำให้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้มากขึ้น พอร์ท RGB , Componet Video , Composite Video และพอร์ท S-Video เป็นพอร์ทสำหรับรับส่งสัญญาณระบบอนาลอค ส่วนพอร์ท DVI และพอร์ท HDMI เป็นพอร์ทสำหรับรับส่งสัญญาณระบบดิจิตอลซึ่งให้คุณภาพได้สูงกว่าพอร์ทอนาลอค
หลอดภาพ (Projector Lamps)
หลอดภาพของโปรเจคเตอร์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำมา พิจารณาเลือกซื้อโปรเจคเตอร์เนื่องจากอายุการใช้งานของหลอดภาพมีจำกัด เมื่อหลอดภาพหมดอายุก็จะไม่สามารถฉายภาพได้โดยที่การเปลี่ยนหลอดภาพใหม่ก็จะ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นอายุของหลอดภาพจึงเป็นส่วนที่น่าจะนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ โปรเจคเตอร์ด้วย
หลอดภาพของโปรเจคเตอร์ก็เหมือนกับหลอดไฟฟ้า ทั่วๆไปคือมีอายุการใช้งานถ้าใช้มากก็จะเสื่อมสภาพเร็วถ้าใช้น้อยก็จะอยู่ ได้นานขึ้น ตัวหลอดจะมีการบอกอายุการใช้งานโดยบริษัทผู้ผลิตส่วน ใหญ่จะบอกเป็นจำนวนชั่วโมง เมื่อปรับการใช้งานของโปรเจคเตอร์ให้ทำงานในโหมดประหยัดพลังงาน (Economic Mode) ก็จะยืดอายุการใช้งานของหลอดภาพได้มากขึ้น หลอดภาพเป็นชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งของโปรเจคเตอร์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ มีโปรเจคเตอร์เป็นจำนวนไม่มากที่เราสามารถถอดเปลี่ยนหลอดภาพได้เองแต่ก็ควร ทำโดยผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า
การรับประกันสินค้าและบริการ (Warranty & services)
โปรเจคเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงหากเกิดการ ชำรุดหรือเสียหายจนไม่สามารถ ใช้งานได้ขึ้นมา คงจะเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร เพราะฉะนั้นจึงควรสอบถามเรื่องระยะเวลารับการประกันชิ้นส่วนต่างๆของโปรเจค เตอร์และหลอดภาพรวมถึงศูนย์บริการอย่างละเอียด ในกรณีที่เกิดมีปัญหากับโปรเจคเตอร์ ขึ้นมาจะได้ส่งเข้ารับการตรวจสอบและซ่อมแซมได้อย่างสะดวก

การเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ควรพิจารณาว่าจะนำ โปรเจคเตอร์ไปใช้งานประเภทไหนเช่นใช้โปรเจคเตอร์ในการนำเสนองานให้ห้อง ประชุมหรือใช้โปรเจคเตอร์ในการฉายภาพยนตร์ภายในบ้าน จากนั้งจึงพิจารณาถึงคุณสมบัติของโปรเจคเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ รวมถึงยังต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมและสถานที่ๆจะนำไปใช้งานและจำนวนผู้ชมด้วย ทั้งนี้ ความเข้าใจในคุณสมบัติที่มีมาพร้อมกับโปรเจคเตอร์น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการ ตัดสินใจเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ให้เหมาะกับการใช้งานได้อย่างถูกต้องและคุ้ม ค่ามากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น