วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

DVI , HDMI and HDCP


 DVI (Digital Video Interface), DVI-I , DVI-D และ DVI-A


DVI คือระบบเชื่อมต่อในการรับส่งสัญญาณภาพระบบดิจิตอลที่ถูกออกแบบมาให้สามารถรับ
ส่งสัญญาณภาพให้ได้คุณภาพสูงสุดโดย DVI ย่อมาจาก Digital Video Interface ปัญหาที่พบส่วยใหญ่เกี่ยวกับ DVI ก็คือความสับสนของพอร์ทที่มีอยู่หลากหลายชนิด
ที่สามารถฉายภาพในห้องขนาดเล็กและขนาดกลางได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันมี Pico Projector และ Pocket Projector ซึ่งมีตัวเครื่องขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบามากโดยมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม แต่ในการใช้งานนั้นจะเหมาะสำหรับฉายภาพโดยมีผู้ชมจำนวนไม่มากและควรใช้ใน สถานที่ที่มืดหรือห้องขนาดเล็ก
  • DVI-I (DVI Digital & Analog) Single Link ,
  • DVI-I (DVI Digital & Analog) Dual Link ,
  • DVI-D (DVI Digital) Single Link ,
  • DVI-D (DVI Digital) Dual Link ,
  • DVI-A (DVI Analog)
DVI ที่พบได้มากก็น่าจะเป็น DVI-I ซึ่งสามารถรับส่งสัญญาณได้ทั้งระบบดิจิตอลและยังสามารถรับส่งสัญญาณระบบอนา ลอคได้ด้วย DVI-I ได้มีการเพิ่มระบบการรับส่งข้อมูล RGBHV ซึ่งเป็นสัญญาณอนาลอคเข้าไป โดยเพิ่มจำนวนขาสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณอนาลอคเข้าไปอีกสี่ขาที่พอร์ทเชื่อม ต่อ ส่วน DVI-D ก็จะมีขาในการเชื่อมต่อเช่นเดียวกันกับ DVI-I ยกเว้นแต่จะไม่มีขาเชื่อมต่อสำหรับสัญญาณ RGBHV DVI-D จึงสามารถรับส่งสัญญาณดิจิตอลเพียงได้อย่างเดียว พอร์ท DVI-A พอร์ทนี้จะสามารถรับส่งสัญญาณภาพระบบอนาลอคได้เท่านั้น

Single Link และ Dual Link
DVI ระบบ Single Link หรือ T.D.M.S. (Transition Minimized Differential Signaling) Link ประกอบด้วยข้อมูลสัญญาณสามช่องทางสำหรับสัญญาณ RGB โดยมีช่วงกว้างของข้อมูล (Bandwidth) สูงสุดที่ 165 MHz ซึ่งก็เท่ากับ 165 ล้านพิกเซลต่อวินาทีและรองรับสัญญาณภาพความละเอียดได้สูงถึง 1920 x 1080 (HDTV)
DVI ระบบ Dual Link จะเพิ่ม T.D.M.S. Link ขึ้นเป็น 2 Link  โดยแต่ละ Link จะประกอบด้วยข้อมูลสัญญาณสามช่องทางสำหรับสัญญาณ RGB โดยมีช่วงกว้างของข้อมูล (Bandwidth) สูงสุดที่ 165 MHz ซึ่งก็เท่ากับ 165 ล้านพิกเซลต่อวินาทีเช่นเดียวกับระบบ Single Link  ระบบ Dual Link จะสามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าระบบ Single Link และรองรับสัญญาณภาพความละเอียดได้สูงถึง 2048 x 1536p
            HDCP คือระบบการปกป้องข้อมูล (Digital Copy Protection) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Intel โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องสัญญาณในระหว่างที่มีการส่งสัญญาณภาพหรือสัญญาณ เสียงจากอุปกรณ์จ่ายสัญญาณไปยังอุปกรณ์ฉายภาพ ระบบ HDCP มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับระบบ DRM (Digital Rights Management) ซึ่งจะทำการเข้ารหัสสัญญาณระหว่างที่มีการส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์ DVI หรือ HDMI เมื่อกล่าวถึงสัญญาณระบบดิจิตอล HDTV ก็คงจะต้องพูดถึง DVI, HDMI และ HDCP สัญญาณดิจิตอลวีดีโออย่างสัญญาณดาวเทียม (Satellite) และสัญญาณภาพดีวีดีเป็นสัญญาณที่ได้รับความนิยมและใช้กันค่อนข้างมาก DVI ได้กลายเป็นทางเลือกแรกๆสำหรับใช้กับสัญญาณดิจิตอลนี้ส่วนทางเลือกรองลงมาก็ จะเป็น Component ข้อดีของการใช้ DVI ก็คือสามารถส่งสัญญาณจากซอร์สดิจิตอลไปยังอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิตอลโดยไม่ ต้องแปลงสัญญาณ (ไม่มีกระบวนการแปลงสัญญาณจากซอร์สดิจิตอลไปเป็นสัญญาณอนาลอกเพื่อส่งผ่าน สายสัญญาณอนาลอค และแปลงกลับไปสู่สัญญาณดิจิตอลอีกทีในอุปกรณ์ฉายภาพปลายทางเพื่อฉายภาพ) ซึ่งทำให้ไม่มีการสูญเสียคุณภาพของสัญญาณระหว่างการแปลงสัญญาณกลับไป มาระหว่างดิจิตอลและอนาลอค บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์สัญญาณระบบดิจิตอลต่างก็ใช้ระบบ HDCP ดังนั้นถ้าจะใช้ DVI ก็จะต้องเลือกอุปกรณ์ที่รองรับระบบ HDCP ทั้งหมดตั้งแต่อุปกรณ์ซอร์สต้นทางไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉายภาพ ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์ใดที่ไม่รองรับกับ HDCP ก็จะเกิดปัญหาขึ้นทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพต่ำหรืออาจไม่สามารถฉายภาพได้ โปรเจคเตอร์รุ่นที่มีพอร์ท DVI ที่มีวางจำหน่ายอยู่ปัจจุบันมีหลายรุ่นที่ยังไม่รองรับระบบ HDCP (อุปกรณ์ที่มีพอร์ท HDMI ทั้งหมดรองรับระบบ HDCP )

HDMI (High Definition Multimedia Interface)
HDMI คือระบบการเชื่อมต่อในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลเช่นเดียวกันกับระบบ DVI แต่จะเพิ่มความสามารถในส่วนของการรับส่งข้อมูลสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล (Digital Audio) เข้ามา HDMI ยังรองรับ Bandwidth ได้มากกว่า DVI อีกด้วยตัวอย่างเช่น HDMI เวอร์ชันแรกๆสามารถรองรับ Bandwidth ได้ที่ 165 MHz ซึ่งใช้ได้กับสัญญาณความละเอียด 1080p และ WUXGA (1920 x 1200) สำหรับ HDMI 1.3 ได้เพิ่มความสามารถนี้มากขึ้นเป็น 340 MHz ทำให้รองรับสัญญาณความละเอียดได้ถึง (2560 x 1600) HDMI ยังมีระบบ Single Link และ Dual Link อีกด้วยนั่นหมายความว่าระบบ HDMI Single Link (Type A/C) จะสามารถรองรับ Bandwidth ได้ 340 MHz และ HDMI Dual Link (Type B) จะสามารถรองรับ Bandwidth ได้ถึง 680 MHz

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น